Monday, January 15, 2007

การใช้ Pathogenic Mapping ช่วยในการเฝ้าระวังการติดเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก



ขวัญจิตร สังข์ทอง, กรุณา ศรีปวนใจ
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก

โรงพยาบาลที่มีระบบการเฝ้าระวังและควบคุมคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ การรายงานที่รวดเร็วจะสามารถลดอัตรา การติดเชื้อ และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลได้ ซึ่งโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยทุกราย ทุกตำแหน่ง โดยโรงพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหน่วยงาน และเฝ้าระวังการติดเชื้อแบบมุ่งเป้า โดยควบคุมการติดเชื้อใน 3 ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อบ่อย พบว่า ยังมีปัญหาในเรื่องความไม่ต่อเนื่องของการรวบรวม การบันทึกและรายงานข้อมูล ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยติดเชื้อ การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา จึงมีการคิดหาวิธีการใช้สื่อที่เรียกว่า Pathogenic Mappingในการสะท้อนข้อมูลที่เห็นภาพชัดเจน

วัตถุประสงค์
- เพื่อช่วยให้ทราบชนิดของเชื้อที่ก่อให้เกิดปัญหา การระบาดของเชื้อก่อโรค หรือ เชื้อดื้อยาในหอผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ดำเนินการในห้องผู้ป่วยหนัก ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน 2548 ด้วยการติดสัญลักษณ์แสดงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับชนิดของเชื้อก่อโรค ตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อใน
Pathogenic Mapping และทำการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ในทุกเวรเช้า นอกจากนี้มีการ Conference case ที่มีการติดเชื้อทุกเช้าวันศุกร์ ร่วมกับพยาบาลควบคุมการติดเชื้อเพื่ออภิปรายหาข้อสรุปและควบคุมป้องกันตามวิถีทางการแพร่กระจายของเชื้อ

ผลการดำเนินงานพบว่า การใช้
Pathogenic Mapping เป็นสื่อในการสะท้อนข้อมูลนี้ ได้ผลดีสำหรับบุคลากรทุกระดับ คือ ใช้เป็นสื่อในการให้ข้อมูลประกอบการรักษาของแพทย์ ทำให้ทราบตำแหน่งที่มีการติดเชื้อและชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องค้นหาข้อมูลภายในชาร์ท ทำให้ทราบข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับการติดเชื้อของผู้ป่วย ช่วยในการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่เกิดความสนใจ ตระหนักในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อภายในหน่วยงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92 เป็นร้อยละ 100

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข

No comments: