
แหม เบื้องหลังจริงๆด้วยสิ!!

ภาพที่นำมาฝากนี้ สามารถคลิกเข้าไปเพื่อชมภาพขยายใหญ่ได้นะครับ
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 4 มี.ค.2549 แต่วันที่ในภาพอาจจะผิดไป เพราะไม่ได้ตั้งวันที่ในกล้องดิจิตอล
กล้อง ที่นายบอนใช้ถ่ายชาว ส.ม.1 หลายต่อหลายคนนี่แหละครับ มีชาว ส.ม.1 เพียงไม่กี่ท่านเท่านั้นที่รอดพ้นจากกล้องตัวนี้ของนายบอน!!!!!!
คุณอดุลย์ กล้าขยัน กำลังหน้าดำคร่ำเครียดกับการจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วย SPSS
ซึ่งได้เริ่มจัดกระทำข้อมูลตั้งแต่ธันวาคม 2548 จนถึง 4 มี.ค.2549
ป๊าด อะไรจะนานปานนั้น
ไม่ นานได้ยังไง สำหรับข้อมูลไข้เลือดออกที่เอามาทำ GIS ใช้ข้อมูล 7 ตัวแปร ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี มีตั้งแต่ข้อมูลประชากร หลังคาเรือน ค่า HI ปริมาณน้ำฝน อายุผู้ป่วย อุณหภูมิ ฤดูกาล
ไม่เท่าไหร่ครับ ปริมาณข้อมูลกว่า 4000 บรรทัด (record)
7 ตัวแปร ก็ต้องทำ 28,000 ช่อง
ข้อมูล แต่ละตัวแปร หลากหลายมากมาย ต้องนำมาตัดต่อ เลือกเฉพาะสิ่งที่ต้องการใช้จริงๆ บางตัวแปร เป็นข้อมูลในตารางมากมายหลายสิบคอลัมภ์ แต่ตัดเอามาแค่ 1-2 คอลัมภ์ เท่านั้น ยิ่งบางตัวแปร ข้อมูลดิบที่ขอจากหน่วยงานราชการมีถึง 11,000 บรรทัด ต้องตัด คัดเฉพาะสิ่งที่ต้องการจริงๆ แค่ 135 บรรทัด!!!
ข้อมูล บางตัวแปร นายบอนก็ต้องช่วยด้วยเช่นกัน เพราะข้อมูลที่ได้มา มากมายจริงๆ ถ้าพี่อดุลย์ต้องทำเองทั้งหมด ไม่รู้ว่า ปี 2550 จะได้สอบรึเปล่า
ใน ภาพแรก ถ้าคลิกดูภาพขยาย สังเกตที่หน้าจอคอมพิวเตอร์จะเห็นเป็นข้อมูลเป็นแถวยาวพรืด นั่นน่ะ เบาะๆนะครับ ข้อมูลทั้งหมด มีเฉียดๆครึ่งร้อยไฟล์ นายบอนไปนั่งดูพี่อดุลย์คลิกเปิดไฟล์โน้นไฟล์นี้ ก็มึนๆเหมือนกัน ทำไมไฟล์ข้อมูลถึงเยอะขนาดนั้น
ส่วนภาพล่าง ที่เห็นพี่อดุลย์ยกมือนั่นน่ะ ไม่ใช่พี่เค้าจะไชโย ยินดีปรีดาที่งานเสร็จเด้อครับ
นั่งนานๆ จนปวดหลังเลยขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบท เดี๋ยวเหน็บจะกินซะก่อน
ส่วนคนที่นั่งข้างล่าง ข้างเก้าอี้ คือ น้องส้มโอ..ลูกสาวคนสุดท้องวัย 5 ขวบ ของพี่อดุลย์เค้าล่ะ
No comments:
Post a Comment