Thursday, January 18, 2007

การสร้างดัชนีชี้วัดในการวางแผนบริหารอัตรากำลังคน ในสายงานบริการเภสัชกรรม O.P.D โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

จีรภา คาคคลังแสง, ภคินี เล่งเวหาสถิต
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

เป็น การศึกษาภาระงานและอัตรากำลังที่เหมาะสมในงานบริการจ่ายยา O.P.D. โรงพยาบาลร้อยเอ็ดเพื่อจัดสรรอัตรากำลังที่เหมาะสมโดยใช้ Stop watch time study technique และกำหนดเวลามาตรฐานในการทำงาน โดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinion Study technique) ปริมาณงานที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้ไม่รวมงานในหน่วยบริการห้องยาที่จ่ายผู้ป ่วยตรวจจากแผนกฟัน หู ตา คอ จมูก เนื่องจากมีการแยกหน่วยบริการเป็นสัดส่วนชัดเจนทั้งสถานที่และบุคลากร พบว่าปริมาณงานในวันและเวลาทำการในรอบ 9 เดือน ตั้งแต่ 1 ต.ค. 46 – 30 มิ.ย.47 มีทั้งหมด 86 ขั้นตอน (Element) ปริมาณงาน = 12,835.88 man-hour ประกอบด้วยงานของเภสัชกร 5,596 man-hour ซึ่งมีบุคลากรที่ควรจะเป็นเทียบกับบุคลากรในงาน = 437 ต่อ 6.0 มีการแบกรับภาระงานมกาที่สุด = 72.83% และเจ้าพนักงานเภสัชกรรม (จพ.เภสัช) มีปริมาณงาน =3,288.71 man-hour มีบุคลากรที่ควรจะเป็นเทียบกับบุคลากรในงาน = 257 ต่อ 5.0 มีการแบกรับภาระงานน้อยที่สุด = 51.40% และเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม (จ.เภสัช) มีประมาณงาน = 3,951.03 man-hour มีบุคลากรที่ควรจะเป็นต่อบุคลากรในงาน = 3.08 ต่อ 5.0 คน มีการแบกรับภาระงาน = 58.60% และการแบกรับภาระงานพิจารณาในภาพรวมของหน่วยบริการห้องจ่ายยา O.P.D. เท่ากับบุคลากรควรจะมีบุคลากรในงานเท่ากับ 10.58 ต่อ 16 มีการรับภาระงาน = 66.13% ตามลำดับ ผลพบว่า เภสัชกรมีปริมาณเกินงาน 1 คน จพ.เภสัช 2 คน ทำให้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานคือ 1) ริเริ่มการให้บริการตามลำดับบัตรคิวจัดให้ จพ.เภสัชและ จ.เภสัชสลับเวรเพื่อคัดกรองใบสั่งยาแยกตามสิทธิ์ของผู้ป่วยให้บัตรคิว และให้บริการตอบข้อซักถามในการใช้บริการเพื่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2) เปิดห้องจ่ายยา O.P.D. ศัลยกรรมกระดูกเพิ่มโดยให้เภสัชกร 1 คนประจำการตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. ทุกวัน 3) ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานบริหารเวชภัณฑ์ เช่น การรับยาเข้าคลัง การเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์สำรองตู้จ่าย และการเตรียมงานบริการเภสัชกรรมให้ทำในช่วงบ่ายเนื่องจากอัตราการรับใบสั่งย าจะมีมากในช่วงเช้า( คิดเป็น 60% ของใบสั่งยาทั้งวัน) 4) ร่วมกับคลินิกโรคหัวใจเปิดงานบริบาลเภสัชกรรม โดยให้คำปรึกษาในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin ทุกรายในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ โดยสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูง 5) เข้าร่วมโครงการ Preceptor Ambulatory Care รับนักศึกษาเภสัชกรรมคลินิกระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ฝึกงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก 6) มีการเปิดงานผลิตยาเคมีบำบัด การจัดสรรบุคลากรที่เหมาะสม ควรจัดสรรให้สอดคล้องกับสภาพงานโดยคำนึงถึงบรรยากาศในการทำงานที่ผู้ให้บริก ารควรมีความสุขในการทำงาน ซึ่งหากกำหนดให้มีการแบกรับภาระงานที่มากเกินไป อาจมีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของงานได้เช่นเดียวกัน

จาก ผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549
ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: