Thursday, January 18, 2007

การศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

อรทัย พงษ์แก้ว และคณะ
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

วิธีการศึกษา
- เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ทำการรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2547 - 31 สิงหาคม 2547 ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่ได้รับการสวนสายปัสสาวะที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 ศัลยกรรมชั้น 4 และหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ดจำนวน 80 คน ด้วยแบบเก็บข้อมูลการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส่สายสวยปัส สาวะ ตัวแปรที่ใช้วัดได้แก่ เพศ อายุ กลุ่มโรค ข้อบ่งชี้ในการใส่สายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส่สายปัสสาวะ และดูแลขณะและหลังใส่สายสวนปัสสาวะเชื้อก่อโรค การได้รับยาต้านจุลชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และไคสแควร์

ผลการศึกษา
- พบว่า ผู้ป่วยเพศหญิงมีการติดเชื้อมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 15.22 กลุ่มอายุต่ำกว่า 21 ปี มีการติดเชื้อมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มโรคระบบต่อมไร้ท่อมีการติดเชื้อมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.0 ระยะเวลาการคาสายสวนปัสสาวะมากกว่า 6 วัน มีผลทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 10.0 ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อวัดปริมาณปัสสาวะตกค้างหลั งจากผู้ป่วยปัสสาวะมีการติดเชื้อมากที่สุดคือ ร้อยละ 9.37 ผู้ป่วยที่ได้รับการสวนปัสสาวะร้อยละ 100 ได้รับการปฏิบัติการดูแลขณะใส่สายสวนปัสสาวะทุกเรื่อง มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 1.0 ที่ไม่ได้รับการสวนปัสสาวะให้อยู่ห่างจากผู้ป่วยอื่น เชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด คือ เชื้อ Enterococci พบร้อยละ 57.13 ผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้รับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Beta-lactams มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 17.65 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า เพศ อายุ กลุ่มโรค มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาว ะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป
- ผลของการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงสถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเ ชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยท่าใส่สายสวนปัสสาวะซึ่งนำไปใช้เป็นข้อมู ลเพื่อวางแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส ่สายสวนปัสสาวะ และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งต่อไป


จาก ผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549
ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: