Thursday, January 18, 2007

การทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน

ไพลิน ปรัชญคุปต์, ดวงพร หน่อคำ , สุพาณี ภูหนองโอง และคณะ
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

บทนำและวัตถุประสงค์
- การเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งกับผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติโดยเฉพาะเมื่อมีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ ครอบครัวสูญเสียรายได้ ต้องรับภาระในการดูแล บางครั้งเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ในการรักษา ทอดทิ้งผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเรื่องการทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิต เวชขอนแก่นราชนครินทร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแล ผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมสายใย-สายสัมพันธ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และนำผลการศึกษามาจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป

วิธีการศึกษา พบว่า การทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปีมากที่สุด จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณต่ำกว่า 5,000 บาท / เดือน / ครอบครัว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทำหน้าที่ของครอบครัวพบว่า การทำหน้าที่ของครอบครัวในด้านการแก้ปัญหาการสื่อสาร บทบาท การตอบสนองทางอารมณ์ การควบคุมพฤติกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ความผูกพันทางอารมณ์ และการทำหน้าที่ทั่วไปอยู่ในระดับน้อย

สรุป
ค วรมีการจัดกิจกรรมโดยการเน้นให้ครอบครัวและสมาชิกในครอบครัวมีความสนใจผู้ป่ วยจิตเวช และมีการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม และควรมีการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างเฉพาะโรคต่อไป

จาก ผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549
ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: