Thursday, January 18, 2007

การประดิษฐ์อุปกรณ์หัวดูดสารน้ำ-เลือดขนาดเล็ก ในการผ่าตัดบริเวณหู-ช่องหู (Ear suction)

ปริศนา จ๋วนเจนกิจ, ปรารพ ก่อบัว
โรงพยาบาลพังงา

การ ผ่าตัดบริเวณหู- ช่องหู เป็นหัตถการขนาดเล็ก ขณะทำต้องใช้ความประณีต บริเวณผ่าตัดต้องสะอาดไม่ชุ่มสารน้ำและเลือด ซึ่งมีผลต่อ การมองเห็นเส้นเลือด เส้นประสาท และเนื้อเยื่อบริเวณนั้น การใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เหมาะกับบริเวณผ่าตัด จึงจำเป็นและสำคัญต้องสั่งซื้อจากบริษัทและต้นทุนสูง ทำให้มีจำนวนน้อยที่จะใช้งาน เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดจึงคิดประดิษฐ์อุปกรณ์จากวัสดุที่ชำรุดไม่ใช้แล้วให้ มีประสิทธิภาพในการดูดสารน้ำ- เลือดใกล้เคียงกัน มีหลายขนาดให้เลือก พอใช้ และลดต้นทุนในการสั่งซื้อ

วิธีการศึกษา
- นำปัญหาจากการมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานมาร่วมคิดหาแนวทางแก้ไขนำ เสนอแนวทาง ลงมือปฏิบัติ ทดลองใช้ ตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนของการใช้เครื่องมือที่จัดทำขึ้น

ผลการศึกษา
- โรงพยาบาลพังงาเปิดให้บริการผ่าตัดบริเวณหู-ช่องหูได้ในปี พ.ศ.2535 ในปี พ.ศ. 2536 ก็สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์หัวดูดสารน้ำและเลือดขนาดเล็กจากเข็มเจาะหลัง (Lumber puncture) ขนาดต่างๆที่ปลายไม่คมมาตัดปลายออกแล้วฝนขอบหัวดูดไม่ให้บาดคม มาใช้ต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆจนถึงปัจจุบัน

สรุป
- การ พัฒนางานในหน่วยงาน สามารถทำได้โดยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายคิดพัฒนาผลงานตามกระบวนการร่วมกันมีการ ปรึกษา ทดลองนำไปใช้ประเมินผลก่อให้เกิดผลงานมีประโยชน์กับหน่วยงานในระยะยาวและ ต่อเนื่องกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในการคิดพัฒนาต่อไป

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: