Monday, January 15, 2007

ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคความดันโลหิตสูงงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชัยภ

ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชัยภูมิ

กาญจนา เปสี, สุรีย์พร ศิริพันธุ์

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก ร.พ.ชัยภูมิ

วิธีการศึกษา
- วิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยใช้กรอบแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพของ
Marshall H. Recker (1974) และพฤติกรรมของ Orem’s (1996) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูงที่คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 188 รายระหว่างเดือนธันวาคม 2547 เมษายน 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่ใช้วัดความเชื่อด้านสุขภาพและแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง หาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาและคูลเดอร์แอนริชาดสัน (KR-20) ได้ 0.89 และ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 10 หาค่าเฉลี่ย ร้อยละและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษา
- พบว่าผู้ป่วยเป็นเพศหญิงร้อยละ 71.30 ชายอายุเฉลี่ย 61.40 ปี สถานภาพการสมรสคู่ ร้อยละ 76.60 ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 80.30 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 83.5 มีรายได้ 500-1000 บาท ร้อยละ 33.80 ระยะเวลาที่เป็นโรคมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 25.8สามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 65.4 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 69.70 มีความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม
X193.16 SD21.44 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

วิจารณ์และสรุป
- ผู้ป่วยที่มีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพจะมีการดูแลตนเองดี ดังนั้น พยาบาลในฐานะบุคลากรด้านสุขภาพจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีแนวทางการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นและส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี


จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข

No comments: