Monday, January 15, 2007

ผลการใช้สารละลายแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟต ชนิดผลิตเองในการเคลือบทางเดินอาหารสำหรับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง



ศิริพร พูลศิริ, ศรัณยา พระเทพ, เปรมฤดี ชื่นกลิ่น, พรทิพย์ ศุภวงศ์, เรวัติ เตียสกุล
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

บทนำ
- การตรวจวินิจฉัยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องโดยทั่วไปจำเป็นต้องมีการเคลือบทางเดินอาหารด้วยสารทึบรังสีที่เหมาะสมและทั่วถึง เพื่อผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นในการช่วยแยกลำไส้จากอวัยวะหรือพยาธิสภาพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางเดินอาหาร สารทึบรังสีที่นิยมใช้คือ สารละลายแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟตและสารละลายน้ำทึบรังสีไอโอดีน ข้อดีของสารละลายแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟต คือ ไม่กระตุ้นการบีบตัวหรือถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารจึงใช้ในคนไข้ทั่วไปหรือมีประวัติแพ้สารต่างๆได้ ข้อเสียคือ ตกตะกอนเป็นก้อนในกระเพราะอาหารง่ายทำให้เกิดเงาแปลกปลอม
(artifact) และเคลือบลำไส้ส่วนปลายได้ไม่ดี ส่วนสารละลายน้ำทึบรังสีไอโอดีนเตรียมง่าย ไม่มีตะกอนแต่ราคาค่อนข้างแพง และดูดซึมจากทางเดินอาหาร เกิดอาการแพ้ได้

วัตถุประสงค์
- เปรียบเทียบสารทึบรังสีในแง่การเคลือบทางเดินอาหารเงาแปลกปลอม รสชาติ การกลืน ผลข้างเคียงและราคาระหว่าง 1) สารละลายแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟตที่เตรียมขึ้นเอง 2) ที่ผลิตขายสำเร็จรูป และ 3) สารละลายน้ำทึบรังสีไอโอดีน

วิธีการศึกษา
- ศึกษาในผู้ป่วยที่ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทุกรายของ ร.พ.พระนั่งเกล้าตั้งแต่ 1 ก.ย. 2548
12 เม.ย.2549 ยกเว้นผู้ป่วยเด็กหรือผู้ป่วยที่สงสัยสำไส้ทะลุโดยเครื่อง conventional CT exel 2400 ELECT ใช้สารทึบรังสี 3 ชนิด randomized trial เก็บข้อมูลทั่วไปในแง่รสชาด การกลืน อาการคลื่นไส้อาเจียน แปลผลการเคลือบและเงาแปลกปลอมโดยรังสีแพทย์อย่างอิสระ ใช้สถิติวิเคราะห์ chi-square test, exect test และ เปอร์เซ็นต์

ผลการศึกษา
- ผู้ป่วย 134 ราย มีพบความแตกต่างระหว่างสารทึบรังสีทั้ง 3 ชนิดในแง่ผู้รับบริการยอมรับ การบริหารยา ผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดการอาเจียน ในแง่รสชาติ สารละลายน้ำทึบรังสีไอโอดีนมีรสชาติและรับประทานง่ายกว่าเล็กน้อย ไม่มีความแตกต่างกันของเงาแปลกปลอมและการเคลือบทางเดินอาหาร ยกเว้นกระเพาะอาหาร ในแง่ราคาสารละลายแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟตที่ผลิตเองราคาถูกที่สุด น้อยกว่าประมาณ 4-10 เท่า

สรุป
- สารละลายแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟตที่ใช้ทั่วไปในการตรวจทางรังสี สามารถนำมาผลิตใช้เองสำหรับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องได้ด้วยสูตรที่เหมาะสม ราคาถูกและปลอดภัย

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข


No comments: