Monday, January 15, 2007

ศึกษาการหลุดของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ถุงมือลูกบอลร่วมกับการผูกมัด

วรรณทณี สว่างเนตร และคณะ
หน่วยงานหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร

บทนำ
-
ในปัจจุบันพบว่าอุบัติการณ์การหลุดของท่อช่วยหายใจของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรมโรงพยาบาลกำแพงเพชรมีจำนวนสูงถึง 64.30 ครั้งต่อ 1,000 วัน ใส่ท่อช่วยหายใจ วิธีการปฏิบัติเดิมใช้วิธีการผูกยึดผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือมากขึ้น จะเพิ่มการผูกยึดหน้าอก แต่อุบัติการณ์การหลุดของท่อช่วยหลายใจมาได้ลดลง การหลุดของท่อช่วยหายใจแต่ละครั้งของผู้ป่วยส่งผลให้การหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ช้าลงเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะหลอดลมบวม เกิดอาการอักเสบจึงทำให้ได้รับออกซิเจนน้อย ส่งผลให้เกิดสภาวะขาดออกซิเจน , หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ นอกจากนี้การพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ก็ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ทำให้ญาติต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น คณะผู้ศึกษาตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการหลุดของท่อช่วยหายใจ จึงมีแนวคิดว่าการใส่ถุงมือลูกบอลร่วมกับการผูกมัด จะช่วยลดการหลุดอุบัติการณ์ของท่อช่วยหายใจ และยังผลต่อการป้องกัน กรเกิดของนิ้วติดแข็งได้

วัตถุประสงค์
- เพื่อลดอุบัติการณ์การหลุดของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ถุงมือลูกบอลร่วมกับการผูกมัด และสร้างนวตกรรมเพื่อป้องกันการหลุดของท่อเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม

วิธีการศึกษา
- เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาโดยในผู้ป่วยทุกรายที่รับรู้ต่อความเจ็บปวดในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร ตั้งแต่เดือย กย.- พย.2547 จำนวน 45 รายเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นและเก็บข้อมูลโดยคณะผู้ศึกษา นำมาวิเคราะห์เพื่อหาอุบัติการณ์การหลุดของท่อช่วยหายใจต่อ 1,000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ

ผลการศึกษา
- จากการศึกษาผลของการใส่ถุงมือลูกบอลร่วมกับการผูกมัดพบว่าลดลงจาก 64.30 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่ท่อช่วยหายใจเป็น 44.33 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ

วิจารณ์และสรุป
- จากผลการศึกษาที่ได้ การใส่ถุงมือลูกบอล ร่วมกับการผูกมัด สามารถลดอุบัติการณ์การหลุดของท่อช่วยหายใจได้ แต่บางครั้งผู้ป่วยต้องได้รับการพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับจึงทำให้การมัดมือผู้ป่วยกับเตียงหลวมเกินไป ทำให้ผู้ป่วยสามารถงอแขนและโน้มตัวมาดึงท่อเครื่องหายใจได้

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข


No comments: