Thursday, January 18, 2007

การศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ

ดลพร รัตนจันทร์ และคณะ
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วัตถุประสงค์
- เพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางในการดูแลเด็กให้ดียิ่งขึ้น

ระยะเวลาศึกษา
- เมษายน 2546 – เมษายน 2549 (3 ปี)

วิธีการศึกษา
1) วิเคราะห์ข้อมูลจากการาสอบถาม สัมภาษณ์และสังเกตขณะมารับบริการ
2) ศึกษาในผู้ป่วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกอายุแรกเกิด -6เดือน ได้รับการรักษาด้วยการใส่เฝือก 4-20 ครั้ง นัด F/U เปลี่ยนเฝือกทุก 1 สัปดาห์ 75 ราย กลุ่มที่ 2 อายุแรกเกิด – 3 ปี ได้รับการรักษาด้วยการใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า (Ankle Foot Orthosis; AFO)
3) สร้างแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล
4) ปรับปรุง พัฒนาการให้บริการ จัดสถานที่ อุปกรณ์ให้ผู้ปกครองและเด็กได้รับความสะดวก จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เตรียมของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่องการดูแลเด็กขณะใส่เฝือก ใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า จัดกิจกรรมกลุ่มให้ผู้ปกครองพูดคุยเล่าประสบการณ์การดูแลเด็ก

ผลการศึกษา
- ผู้ปกครองเด็กกลุ่มใส่เฝือกได้รับความสะดวกมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.5 เป็น 88.90 กลุ่มใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า (AFO) เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.12 เป็น 90.30 ผู้ปกครองเด็กกลุ่มใส่เฝือกมีความรู้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.00 เป็น 94.88 กลุ่มใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า (AFO) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.68 เป็น 95.00 อัตราการมาตรวจตามนัดกลุ่มใส่เฝือกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.00 เป็น 100 กลุ่มใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า (AFO) เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.75 เป็น 95.19 ภาวะแทรกซ้อนขณะใส่เฝือก, ใส่ AFO กลุ่มใส่เฝือกลดลงร้อยละ 4 เป็น 094.88 กลุ่มใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า (AFO) ลดลงร้อยละ 4.23 เป็น 0 เด็กหายจากความพิการกลุ่มใส่เผือกร้อยละ 96 (72 ราย) กลุ่มใส่อุปกรณ์ดัดข้อเท้า (AFO) ร้อยละ 95.74 (45 ราย)

สรุป
- จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ปกครองเด็กมีความสะดวกขณะมารับบริการ เด็กได้เล่นของเล่นขณะรอพบแพทย์ ผู้ปกครองก็จะมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นส่งเสริมให้ผู้ปกครองพาเด็กมาตรวจตามนั ด เด็กจะได้รับการรักษาต่อเนื่องตามแผนการรักษาของแพทย์และเมื่อผู้ปกครองมีคว ามรู้เพิ่มขึ้นก็จะสามารถดูแลเด็กให้ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน การจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยให้ผู้ปกครองคลายความวิตกกังวลจากการได้พูดคุยเปรียบ เทียบ แลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลเด็กและลดความวิตกกังวลเมื่อเห็นบุตรของตนยืน เดิน ได้ตามปกติซึ่งเด็กสามารถไปโรงเรียนได้ ไม่มีปมด้อย

จาก ผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549
ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: