Thursday, January 18, 2007

การประเมินผลการป้องกันและดูแลผู้ป่วยอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ระดับชุมชน ในประเทศไทยปี 2548


ปิ่นนก นรเศรษฐพันธุ์ และคณะ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12

ก ารวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการป้องกันควบคุมโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำก ว่า 5 ปี ในชุมชน สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง 12 จังหวัดตามเขตสาธารณสุข โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) คำนวณขนาดตัวอย่างตามสัดส่วนประชากร (Proportional allocation to size) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 13,383 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ถูกต้องในการดูแลเด็กเบื้องต้นตามกฏ 3 ข้อดังนี้
ก ฏข้อ 1 การให้ของเหลวทดแทนเพิ่มเติม ร้อยละ 25.3 กฎข้อ 2 การให้อาหารอย่างต่อเนื่อง ขณะป่วยร้อยละ 56.4 และกฏข้อ 3 รู้อาการชี้บ่งอันตรายที่ต้องไปรับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขร้อยละ 64.3 ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี กินนมแม่อย่างเดียวนาน 4 เดือน เพียงร้อยละ 24.8 สำหรับเด็กที่กินนมขวดผู้ดูแลเด็กทำความสะอาดขวดนมและอุปกรณ์ถูกวิธี ร้อยละ 37.7 เท่านั้น ผู้ดูแลเด็กล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหารหรือนม ถูกวิธีเพียงร้อยละ 36.1 ส่วนการล้างมือหลังถ่ายอุจจาระร่วงภายใน 2 สัปดาห์ก่อนการสัมภาษณ์ 414 คน คิดเป็นการป่วย 3.09 ครั้ง/100 คน/2 สัปดาห์ อนึ่งเด็กที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงมีอัตราการได้รับสารน้ำทดแทนทางปาก (ORT Use Rate ) ร้อยละ 92.8 โดย อัตราการได้รับผลน้ำตาลเกลือแร่แก้ท้องร่วง (ORS Use Rate) ร้อยละ 68.4 นอกจากนี้อัตราการได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะยังสูงถึงร้อยละ 47.8 และยังมีการใช้ยาแก้ท้องเสียร้อยละ 35.3

จากผลการศึกษาดังกล่าว จะเห็นว่าผู้ดูแลเด็กยังมีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันแบะดูแลรักษาเด็กป่ว ยด้วยโรคอุจจาระร่วงต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงควรเร่งส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็กเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตัวที่เห มาะสมและลดพฤติกรรมเสี่ยงได้ หากมีการศึกษาครั้งต่อไป การวิจัยพฤติกรรมเชิงคุณภาพในด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคจะมีความสำคัญ เพราะอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมต่อไป ส่วนปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้ท้องเสีย อาจนำเข้าสู่การประชุมวิชาการกุมารแพทย์เพื่อแก้ปัญหาต่อไป

จาก ผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549
ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: