Thursday, January 18, 2007

การศึกษาเรื่องเครื่องดักจับลูกน้ำยุง

สมปอง ยางสูง, สุพัตรา สุฐาปัญญกุล
สถานีอนามัยตำบลท่ากระชับ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ก ารศึกษาเรื่องกับดักจับลูกน้ำยุงสาเหตุมาจากการระบาดของโรคติดต่อที่นำโดยแม ลง คือ โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ที่ภาครัฐต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการควบคุมโรค แต่การระบาดก็ยังมากขึ้นทุกปี ผู้ศึกษาจึงได้คิดประดิษฐ์นวัตกรรมสำหรับดักจับลูกน้ำยุงขึ้น เพื่อการควบคุมลูกน้ำยุง ป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

จากกา รทดลองสามารถสรุปได้ว่า กับดักจับลูกน้ำยุง สามารถดักจับลูกน้ำได้ใน 1 วัน ลุกน้ำที่เข้าเครื่องดักจับ Model 3 ช่อง มีค่าเฉลี่ย 181 ตัว ซึ่งจำนวนลูกน้ำแปรผันตรงกับขนาดของเครื่องดักจับและระยะเวลาที่ใช้ โดยปัจจัยที่ทำให้เครื่องดักจับมีประสิทธิภาพ คือ จำนวนลูกน้ำ การรบลกวนลูกน้ำให้ลูกน้ำมีการเคลื่อนที่ลงสู่ด้านล่างของภาชนะที่เก็บน้ำ เมื่อลูกน้ำเคลื่อนสู่บนผิวน้ำ ก็เพิ่มโอกาสในการที่จะเข้าสู่เครื่องดักจับมากขึ้น การเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของกรวย การเพิ่มจำนวนของกรวยเครื่องดักจับ เช่น ขวดน้ำ กล่องพลาสติกใส่ขนม หรือขวดน้ำที่มีขนาดใหญ่ จะได้กรวยที่มีขนาดใหญ่ทำให้เพิ่มโอกาสที่ลูกน้ำจะเพิ่มเข้ามากขึ้น และเนื่องจากกับดักลูกน้ำเป็นระบบปิด เมื่อลูกน้ำเข้าสู่กับดักจับแล้วปล่อยทิ้งไว้ลูกน้ำในกับดักจับจะกลายเป็นยุ งซึ่งไม่สามารถออกจากกับดักจับได้ เพราะมีผิวน้ำและฝาปิดขวดพลาสติกเป็นตัวปิดทางออก และยุงก็จะตายกลายเป็นอาหารของลูกน้ำต่อไป

การศึกษาทดลองยังดำเนินอย ่างต่อเนื่อง ข้อดีของการประดิษฐ์ไม่ยุ่งยาก ใช้วัสดุหาง่าย ราคาถูกจำพวกขวดพลาสติก แต่ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับของกรมอนามัยที่เคยออกมาเมื่อหลายปีก่อนแล้ว จะมีประสิทธิภาพดีกว่า อีกทั้งกับดักจับลูกน้ำเป็นระบบปิด เมื่อลูกน้ำเข้าไปในกับดักแล้ว โอกาสที่จะออกมาน้อยมาก ทำให้สามารถวางกับดักลูกน้ำในภาชนะที่ขังน้ำได้ตลอดจนกว่ากับดักจะพัง ส่วนข้อเสียของกับดักจับลูกน้ำ คือ การดักจับลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำที่เป็นมุมฉากจะทำได้ลำบาก และขนาดใหญ่ตามลักษณะขวดที่ใช้ทำอาจจะให้ไม่สะดวกเวลาตักน้ำใช้

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี ๒๕๔๙ วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙
ณ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: