Thursday, January 18, 2007

การดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน กรณีศึกษา วัดโพธิ์ตาก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ปี 2548

มะลิ โพธิพิมพ์, ศักดิภัทร พวงคต และคณะ
โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร

วัตถุประสงค์
-เพื่อ ให้พระ บุคลากรในวัดมีสุขภาพดี
- เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดำเนินการศึกษาในวัดโพธิ์ตาก เดือนเมษายน - ธันวาคม 2548
ร ูปแบบการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ ข้อสรุปจากการประชาคม

ผลการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะเตรียมก าร รวบรวมข้อมูลโดยสรุป วัดโพธิ์ตาก เป็นวัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2430 มีพื้นที่ 22 ไร่ ตั้งชื่อวัดจากการที่ในวัดมีต้นโพธิ์ใหญ่ 1 ต้น ปัจจุบันเป็นวัดที่อยู่ของเจ้าคณะอำเภอ รวมพระภิกษุสามเณรประจำวัด 40 รูป มีคณะกรรมการวัดทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส

ระยะดำเนินการจากการประชา คมของ๕ณะกรรมการวัด และคณะกรรมการชุมชน สรุปปัญหาเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการพัฒนา 5 ด้าน คือ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านความรู้และภูมิปัญญา 3) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 4) ด้านความปลอดภัย 5) ด้านอื่นๆ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการ และปฏิบัติตามแผน ระยะประเมิน 1) ด้านสิ่งแวดล้อม วัดสะอาดสวยงาม มีนวัตกรรมถังขยะจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเวรทำความสะอาดต่อเนื่องจัดทำท่อระบายน้ำทิ้ง สร้างห้องน้ำผู้พิการ ไม่พบโรคระบาดในวัด 2) ด้านความรู้และภูมิปัญญา มีบอร์ดความรู้ จัดให้มีการถ่ายทอดธรรมะสู่ประชาชนตลอดปี 3) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีแผนประชุมเพื่อพัฒนาวัดตลอดปี ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม 4) ด้านความปลดภัย ได้จัดซ้อมแผนรับอัคคีภัย ติดป้ายลดความเร็วในวัด ไม่พบอุบัติเหตุ อุบัติภัยในวัด และเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพชนะเลิศระดับเขต

สรุป -
- จากการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนจะเป็นกระบวนการส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน ควรขยายการดำเนินงานไปยังวัดใกล้เคียง เพื่อบรรลุผลเมืองไทยแข็งแรง

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี ๒๕๔๙ วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙
ณ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: