Thursday, January 18, 2007

การประเมินผลการดำเนินงานจัดตั้งเครือข่าย / ชมรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2548

พรรณณี วาทิสุนทร และลี่เฟิรน์ ดีเป็นธรรม

การคืนคนดีสู่สังคมของผู้ เคยเสพ/ผู้ติดยาเสพติดและผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว ด้วยโครงการจัดตั้งเครือข่าย/ ชมรม เพื่อป้องกันและแก้ไขยาเสพติดปีงบประมาณ 2548 เป็นนโยบายเร่งด่วนของชาติตามแผนปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 4 ได้ ดำเนินการครอบคลุมทุกอำเภอ ทั้ง 75 จังหวัด รวม 876 อำเภอ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เขาเหล่านั้น ได้เป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ และสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

ผบการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบ ถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบโครงการจากหน่วยงานระดับอำเภอ 207 แห่ง จำนวน 207 ราย เมื่อเริ่มดำเนินงานได้ 6 เดือน โดยเน้นถึงความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ และกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้สะท้อนถึงความในใจที่ซ่อนเร้นของผู้รับผิดชอบ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆในการดำเนินงาน ซึ่งส่วนใหญ่มีเจตคติด้านบวกต่อโครงการ โดยคิดเห็นว่า มีประโยชน์ต่อผู้เสพ/ ผู้ติดยาเสพติด ที่จะสร้างและพัฒนาศักยภาพตนเอง และให้โอกาสดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข แต่เมื่อแปลงนโยบายมาสู่การปฏิบัติ ก็ไม่สามารถสร้างความชัดเจนว่า หน่วยงานใดจะเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ และเมื่องบประมาณการดำเนินงานมาจากกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงเป็นเจ้าภาพดำเนินการ ทำให้คิดว่า เป็นโครงการที่เพิ่มภาระงานมากขึ้น และบางกรณีการใช้ค่าใช้จ่ายส่วนตัวสูงขึ้นด้วย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงควรมีการสร้างขวัญและแรงจูงใจในการทำงานด้านยาเสพติด พร้อมกับส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานอื่นๆ ด้านความรู้ ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด และกิจกรรมการจัดตั้งชมรม / เครือข่าย ด้วย และชี้แนะถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จและความยั่งยืนของเครือข่าย/ชมรม ควรมี 7 องค์ประกอบ คือ
1) นโยบายระดับชาติต้องชัดเจนและต่อเนื่อง
2) การมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วน
3) สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเครือข่าย / ชมรมอย่างต่อเนื่อง
4) การมีกฎกติการะเบียบวินัยข้อบังคับของชมรมและสมาชิก
5) การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจของมวลสมาชิก
6) งบประมาดำเนินงานทั้งจากภายในและภายนอกชมรม
7) สร้างขวัญกำลงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

ก ารปรับนโยบายและแนวทางเพื่อพัฒนาโครงการนั้น จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลหรือทะเบียนประวัติผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟู พร้อมกับรณรงค์สร้างเจตคติของชุมชนและสังคม เพื่อร่วมสร้างกิจกรรมของเครือข่าย /ชมรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ควรบูรณาการร่วมกับกลุ่มชมรมหรือองค์กรชุมชนอื่นๆ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการฝึกอบรมเพื่อประกอบอาชีพและสร้างรายได้ เพื่อนำสู่ความแข็งแรงและมั่นคงของกิจกรรมตลอดไป


จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี ๒๕๔๙ วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙
ณ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: