Thursday, January 18, 2007

การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่บ้านของศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลขอนแก่น

สุชาดา กุมพล และคณะ
ศูนย์แพทย์ชุมชนชาตะผดุง โรงพยาบาลขอนแก่น

วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยที่บ้านแบบผสมผสานและเป็นองค์รวม เป็นการพัฒนาเครือข่ายของการดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

วิธีการศึกษา
- กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครเยี่ยมบ้าน จำวน 108 คน และผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 340 คน ในปี 2548-2549 เครื่องมือที่ใช้คือ บันทึกการเยี่ยมบ้าน , แบบประเมินอาสาสมัครเยี่ยมบ้านและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ตำเนินการ 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ปัญหา/ ความต้องการของกรรมการ / อสม./ ผู้ป่วย/ ญาติ/ 2) วางแผนและคัดเลือก อสม.เข้าเป็นอาสาสมัครเยี่ยมบ้าน 3) อบรมอาสาสมัครออกเยี่ยมบ้าน จำนวน 2 รุ่น จำนวน 108 คน โดยกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและมีพยาบาลพี่เลี้ยงติดตามนิเทศและประเมิน รวมทั้งให้ข้อแนะนำ/ช่วยเหลือ และมีการจัดตั้งอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 4) การประเมินผลโดย pre test และ post test แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างดำเนินงาน (ทุก 3, 6 เดือน) และเมื่อสิ้นสุดโครงการ 5) การสะท้อนผลการปฏิบัติ

ผลการศึกษา
- ชมรมอาสาสมัครเยี่ยมบ้านมีจำนวนสมาชิก 158 คน และมีการประชุมทุก 1 เดือน สมาชิกเข้าประชุมระหว่างร้อยละ 99.4- 100.0 วัดผลมีระดับความรู้มากขึ้น สามารถเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังครบ 340 คน และทุกคนมีผลงานในการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์พฤติกรรมในการดูแลผู้ป่วยของอาสาสมัครเยี่ยมบ้าน พบว่า อยู่ในระดับดี 67.8% และระดับพอใช้ 32.2% การประเมินสภาวะสุขภาพหลังเยี่ยมบ้านครบ 6 เดือน พบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ระดับพอใช้ถึงระดับดีถึง 88.6% กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับพอใช้ถึงระดับดีถึง 94.7% ส่วนกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่ไม่มีแผลกดทับ มีเพียงร้อยละ 23.08 ที่พบแผลกดทับเล็กน้อย (เกรด 1) ในด้านความพึงพอใจ พบว่า อาสาสมัครมีความพึงพอใจในระดับมาก 99.1% ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจ 94.7%

สรุป
- การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดยอาสาสมัครเยี่ยมบ้านท ี่ผ่านการอบรมให้ความรู้แล้วสามารถให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่บ้านอย่างมีปร ะสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถลดปัญหาด้านอัตรากำลังไม่เพียงพอได้อย่างดี ควรส่งเสริมและดำเนินการให้ต่อเนื่องยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยต่อไป

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี ๒๕๔๙ วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙
ณ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: