Monday, January 15, 2007

สมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคใต้ ตามการรับรู้ของหัวหน้างาน



วารุณี เริ่มอรุณรอง
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตรัง จ.ตรัง
นงนุช บุญยัง, ปราโมทย์ ทองสุข
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วัตถุประสงค์
- การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาล

ประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามการรับรู้ของหัวหน้างาน

วิธีการวิจัย
- กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้างานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขภาคใต้ที่มีขนาด 60 เตียงขึ้นไป จำนวน 35 คน ประเมินพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับหัวหน้างานกลุ่มตัวอย่างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลละ 4 คน จำนวนพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินทั้งหมด 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยประยุกต์จากแนวคิดรูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจสก้า
(Jeska, 1998) ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุติ 5 ท่าน และทดสอบหาความเที่ยงโดยการประเมินซ้ำ (test re-test) หาความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน ได้เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย
- พบว่าสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขภาคใต้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทักษะด้านเทคนิคที่มีคะแนนสูงสุด คือ การเจาะหาน้ำตาลในเลือดแบบเร่งด่วน
(X= 3.82, SD = 0.40) รองลงมา คือ การให้ออกซิเจน (X= 3.76, SD= 0.44) และการดาม (X = 3.72, SD = 0.45 ) ตามลำดับ ทักษะด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีคะแนนสูงสุด คือ การตรงต่อเวลา (X = 3.37, SD = 0.76) รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม ( X = 3.31, ,SD= 0.67) และการประสานงานการส่งต่อผู้ป่วย (X= 3.28, ,SD = 0.60) ตามลำดับ และทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีคะแนนสูงสุด คือ การประเมินอาการในภาวะฉุกเฉินระบบหายใจที่พบบ่อยเช่น หอบ หืด (X = 3.80, SD = 0.44) รองลงมา คือ การคัดกรองและการจัดลำดับความสำคัญ (X = 3.79, SD = 0.41) และการประเมินภาวะช็อก (X= 3.69, SD = 0.51) ตามลำดับ

สมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การดำเนางานขององค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้รับบริการมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐาน ตลอดจนทำให้องค์การมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข

No comments: