Monday, January 15, 2007

การสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย เรื่องมาตรฐานการบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้เขต 19 ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ



อำไพ สุจริยา
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตรัง จ.ตรัง
ดร.นงนุช บุญยัง, ปราโมทย์ ทองสุข
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเนื้อหาสาระการสื่อสารและคุณภาพการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วยเรื่องมาตรฐานการบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้ เขต 19 ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีจับสลากแบบไม่แทนที่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่องรูปแบบ เนื้อหาสาระ และคุณภาพการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วยเรื่องมาตรฐานการบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการประยุกต์แนวคิดกระบวนการผลิตสื่อสารของรอบบินส์และเคาส์เตอร์ ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และการทดสอบหาความเที่ยง โดยวิธีของสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลประจำการรับรู้การสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วยเรื่องมาตรฐานการบริการพยาบาลรูปแบบลงล่าง ล่างขึ้นบน ตามแนวนอนและข้ามสายงานระดับปานกลาง
(X = 3.66, SD= 0.61 ; X= 3.62, SD = 0.61 ; X = 3.42, SD= 0.61 และ X = 3.32 SD= 0.68 ตามลำดับ) รับรู้การสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการพัฒนาคุณภาพโดยรวมระดับปานกลาง (X=3.64, SD= 0.65) รับรู้การสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการพัฒนาคุณภาพโดยรวม ระดับปานกลาง (X = 3.66, SD = 0.75) และรับรู้คุณภาพการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยรวม ระดับปานกลาง (X = 3.67, SD= 0.72)

หัวหน้าหอผู้ป่วยควรได้รับการพัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งด้านการใช้รูปแบบในการสื่อสาร เนื้อหาสาระที่สื่อสารและคุณภาพการสื่อสาร เพื่อสร้างความมุ่งมั่นของผู้ร่วมงานให้มีการพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายการบริการที่มีคุณภาพขององค์กร

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข

No comments: