Monday, January 15, 2007

การ พัฒนารูปแบบการติดตามดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ระหว่างการรักษาโดยผู้ช่วยเจ้ าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขหรือพนักงานประจำสถานีอนามัยในเขตอำเภอชายแดน

การพัฒนารูปแบบการติดตามดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ระหว่างการรักษาโดยผู้ช่วยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขหรือพนักงานประจำสถานีอนามัยในเขตอำเภอชายแดนไทย กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ 2547 2548

สุวรรณี สิริเศรษฐภักดี, จเด็ด ดียิ่ง และเกรียงชัย เอกา

บทนำ
- ปัญหาการคมนาคมที่ไม่สะดวกและไกล และการสื่อสารเนื่องจากปัญหาด้านภาษา ทำให้อัตราการรับรู้ผู้ป่วยวัณโรคอำเภอชายแดนจังหวัดสุรินทร์ หายต่ำ ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการติดตามที่เหมาะสม น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอชายแดน

วัตถุประสงค์
- เพื่อเปรียบเทียบการดูแลติดตามผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในพื้นที่อำเภอชายแดน ระหว่างการใช้อาสาสมัครสาธารณสุขหรือพนักงานประจำสถานีอนามัยและผู้ช่วยเจ้าหน้าที่

วิธีการศึกษา
- การศึกษาวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ในอำเภอกาบเชิง พนมดงรัก สังขะ และบัวเชดเกี่ยวกับวิธีการในการติดตามดูแลผู้ป่วยที่กำลังรักษาด้วยยา โดยในปี 2547 ทำการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 71 คน เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับวัณโรคและวิธีการเยี่ยมบ้าน การให้คำปรึกษา จากนั้นติดตามผลการเยี่ยมบ้านเป้าหมายผู้ป่วยต้องได้รับการเยี่ยมจำนวน 175 รายในการรักษาระยะเข้มข้นเดือนละ 2 ครั้ง และระยะต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง โดยพิจารณาความครอบคลุมการเยี่ยม การแก้ไขปัญหาและความพึงพอใจของผู้เยี่ยมโดยอาสาสมัครจะได้ค่าตอบแทนรายละ 500 บาท และในปี 2548 ได้ทำการคัดเลือกเจ้าหน้าที่จำนวน 4 คนจบปริญญาตรีพูดภาษาพื้นเมืองได้มาเข้ารับการอบรมและติดตามผู้ป่วยวัณโรคเป้าหมายการเยี่ยม 125 ราย โดยได้ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา จากนั้นทำการประเมินด้านความครอบคลุม การเยี่ยมตามเป้าหมาย การเยี่ยมผู้ป่วยที่มีปัญหา เช่น การขาดยา ผลข้างเคียงจากยา การเยี่ยมกลุ่มอื่นๆเพิ่มเติม และอื่นๆ

ผลการศึกษา

- ความครอบคลุมผู้ป่วยรับการเยี่ยมครบทั้งในระยะเข้มข้นและระยะติดตามของอาสาสมัครหรือพนักงานประจำสถานีอนามัยเป็นร้อยละ 37 (65 ราย จาก 175 ราย) ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่เยี่ยมทั้งหมด 335 ราย โดยเยี่ยมผู้ป่วยในเป้าหมายร้อยละ 100 การเยี่ยมผู้ป่วยนอกเป้าหมายที่เป็นระยะติดตามของอาสาสมัครฯ ไม่มี (จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 375 ราย) ส่วนผู้ช่วยเจ้าหน้าที่มีการเยี่ยม 210 ราย (จำนวนผู้ขึ้นทะเบียน 335 ราย) และสามารถติดตามเยี่ยมกลุ่มที่มีปัญหาในการรักษา 86 ราย เนื่องจากการขาดยาเกิน 1 สัปดาห์ cure rate ของผู้ป่วยในอำเภอชายแดนเพิ่มขึ้นในปี 2548 จากร้อยละ 74 เป็นร้อยละ 81

วิจารณ์และสรุป

- รูปแบบการติดตามผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังรักษาโดยผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สามารถทำให้การเยี่ยมมีความครอบคลุมสูงและมีคุณภาพ สามารถติดตามกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้ และทำให้ประสิทธิผลการรักษาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการติดตามโดยอาสาสมัครหรือพนักงานผู้ช่วยเจ้าหน้าที่

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข


No comments: