Thursday, January 25, 2007

คุณภาพระบบเฝ้าระวังโรควัณโรคจังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ.2546-2547

เอมอร สุทธิสา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

- เพื่อประเมินความครบถ้วน ถูกต้อง และความทันเวลา ของการรายงานผู้ป่วยวัณโรค รายงานระบบเฝ้าระวัง และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา เจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรค ผู้ประสานงานวัณโรคระดับอำเภอ ในปี พ.ศ. 2547

ผลการวิจัยพบว่า
- ความครบถ้วนของจำนวนรายงานที่ต้องรายงาน คิดเป็นร้อยละ 34.95 ความครบถ้วนของตัวแปรข้อมูลในการรายงาน ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 95.00 มีคุณภาพความครบถ้วนของรายงานต่ำเพียงร้อยละ 69.03 ส่วนความถูกต้องตัวแปรที่มีคุณภาพความครบถ้วนค่อนข้างต่ำจะพบว่า มีความถูกต้องต่ำเช่นเดียวกัน คือตัวแปรชื่อผู้ป่วยร้อยละ 88.56 พิจารณาตัวแปรที่มีคุณภาพความครบถ้วนร้อยละ 100.00 จะพบความถูกต้องของตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการเจ็บป่วยต่ำมาก คือ ตัวแปร อาชีพ วันพบผู้ป่วย การวินิจฉัย วันเริ่มป่วย ร้อยละ 79.83, 71.02, 63.64 และ 55.63 ตามลำดับ และความทันเวลาของการศึกษาครั้งนี้ ร้อยละ 35.51

- ปัญหาและอุปสรรคในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา พบว่า อยู่ในระดับต่ำ โดยปัญหาการควบคุมวัณโรคพบว่า มีปริมาณงานมาก คิดเป็นร้อยละ 81.82 ได้รับการสนับสนุนในเรื่องการบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ วิธิการและด้านวิชาการ ยังไม่เพียงพอ ถึงร้อยละ 63.64 ส่วนปัญหาในการดำเนินงานคลินิกวัณโรค พบในเรื่องการขึ้นทะเบียนและการรายงาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีภาระงานมาก ไม่มีเวลา ทำให้การขึ้นทะเบียนและรายงานไม่เป็นปัจจุบัน ปัญหาการเก็บเสมหะส่งตรวจ การส่งต่อผู้ป่วย การจัดทำรายงานบางแห่งไม่เป็นระบบและดำเนินการอย่างไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบ่อย เช่น เปลี่ยนงาน ลาออก ส่วนปัญหาผู้ประสานงานวัณโรคก็ไม่แตกต่าง พบปัญหามากในเรื่องขาดแคลนเจ้าหน้าที่ งบประมาณ ด้านค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: