Thursday, January 25, 2007

ผลของการสัมผัสเพื่อการดูแลต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้ในโรงพยาบาล

สายนาท พลไชโย, ประภารัตน์ ประยูพรหม, ศิริมา โกมารทัต, อรุณนีย์ ประทุมถิ่น, สุชาดา ต่อสกุล
โรงพยาบาลชัยภูมิ

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาความวิตกกังวลของผู้ป่วยสูงอายุแรกรับไว้ในโรงพยาบาล หอผู้ป่วยพิเศษ
- เปรียบเทียบผลของการสัมผัสเพื่อการดูแลต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยสูงอายุแรกรับ


- การใช้แบบแผนการสัมผัสเข้าไปร่วมกับการใช้คำพูดการให้ข้อมูลเป็นการสร้าง สัมพันธภาพให้เกิดความไว้วางใจ และผลของการสัมผัส จะลดการทำงานของซิมพาเธติก กระตุ้นพาราซิมพาเธติก ทำให้เกิดการผ่อนคลาย สำหรับผู้สูงอายุ จะมีความต้องการการสัมผัสอย่างมากและเพิ่มขึ้นตามอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดภาวะสมดุล ทำให้เกิดความวิตกกังวลลดลง ดังนั้น พยาบาลควรให้ความสำคัญโดยการนำการสัมผัสเพื่อการดูแลนี้ ไปใช้ให้การพยาบาลด้านจิตใจและอารมณ์กับผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียงเล็กน้อย และเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ที่พยาบาลจะสามารถช่วยทำให้ความวิตกกังวลของผู้สูงอายุแรกรับไว้ในโรงพยาบาล ลดลงได้เป็นอย่างดี

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

No comments: