Friday, May 26, 2006

การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลโดยการวิเคราะห์ปริมาณงานตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยของโรงพยาบาลชัยภูมิ


วงเดือน ฦาชา. การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลโดยการวิเคราะห์ปริมาณงานตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยของโรงพยาบาลชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2542.


วงเดือน ฦาชา (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาการจัดอัตรากำลังบุคลากร


ของโรงพยาบาลโดยการวิเคราะห์ปริมาณงานตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยของโรง


พยาบาลชัยภูมิ เพื่อศึกษาหาปริมาณงานตามการจำแนกประเภทผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูล


ปริมาณงานจากปริมาณเวลาที่บุคลากรใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและ


กิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วยของการพยาบาล (2539) ซึ่งแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 ประเภท ตามระดับความรุนแรง โดยใช้ตัวบ่งชี้หลักและตัวบ่งชี้รองเป็นตัวกำหนดประเภทผู้ป่วย ตัวบ่งชี้หลักประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ อาการและอาการแสดง ส่วนตัวบ่งชี้รองประกอบด้วย ภาวะการรับรู้ความสามารถใน


การเคลื่อนไหวและสภาวะด้านจิตใจ อารมณ์และสังคม 2) แบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจ


กรรมการพยาบาลโดยตรงและกิจกรรมอื่นๆของบุคลากรพยาบาลซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยผ่าน


การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน เครื่องมือผ่านการหาความ


เที่ยง ได้ค่าความเที่ยง 0.99 เก็บข้อมูลในหอผู้ป่วยตัวอย่าง 10 แห่งของโรงพยาบาลชัยภูมิ ระยะ


เวลา 10 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล


โดยตรงต่อผู้ป่วยแต่ละประเภทตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยโดยภาพรวมทั้ง 10 หอผู้ป่วย เป็นดังนี้ ผู้ป่วย



ประเภทที่ 1 ใช้เวลาเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1 รายต่อเวร


ผู้ป่วยประเภทที่ 2 ใช้เวลาเฉลี่ย 2.64 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1 รายต่อเวร


ผู้ป่วยประเภทที่ 3 ใช้เวลาเฉลี่ย 1.56 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1 รายต่อเวร


ผู้ป่วยประเภทที่ 4 ใช้เวลาเฉลี่ย 1 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1 รายต่อเวร



สำหรับปริมาณเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจ


กรรมอื่นๆ นอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.47 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1


รายต่อเวร จากผลการศึกษาปริมาณเวลาดังกล่าว ซึ่งอยู่ภายใต้สภาพการณ์ปัจจุบันของโรง


พยาบาลชัยภูมิ ที่มีอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลตามกรอบอัตรากำลังรอบที่ 3 เพียงร้อยละ 58.59


สามารถคำนวณจำนวนบุคลากรพยาบาลที่ต้องการตามปริมาณงานจริงในแต่ละหอผู้ป่วย


จำแนกตามประเภทผู้ป่วยได้ดังนี้ หอผู้ป่วยเด็ก 1 57 คน เด็ก 2 57 คน ศัลยกรรมชาย 1 48 คน


ศัลยกรรม 2 39 คน ศัลยกรรมหญิง 48 คน อายุรกรรมชาย 2 36 คน ตา หู คอ จมูก 36 คน


อายุรกรรมหญิง 1 36 คน หลังคลอด 45 คน และนรีเวช 24 คน ซึ่งเมื่อนำผลการประเมินความ


ต้องการบุคลากรพยาบาลตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยมาคำนวณ เพื่อจัดอัตรากำลังบุคลากรให้


หอผู้ป่วยทั้ง 10 แห่ง ตามอัตรากำลังที่มีอยู่จริง จำนวน 127 คน ปรากฏว่า หอผู้ป่วยแต่ละแห่งควรได้รับจัดสรร


อัตรากำลังดังนี้ เด็ก 1 17 คน เด็ก 2 17 คน, ศัลยกรรมชาย1 14 คน, ศัลยกรรม 2 12 คน, ศัลย


กรรมหญิง 14 คน, อายุรกรรมชาย 2 11 คน, ตา หู คอ จมูก 11 คน อายุรกรรมหญิง 1 11คน หลัง


คลอด 13 คน และนรีเวช 7 คน


No comments: