Wednesday, May 18, 2005

ารทดลองใช้กระบวนการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ของ องค์กร (AIC) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการนำแผนพัฒนาสาธารณสุขไปสู่กา

การทดลองใช้กระบวนการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ของ องค์กร (AIC) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการนำแผนพัฒนาสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาแผนงานป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก ระดับหมู่บ้าน จังหวัดชัยภูมิ

ชื่อวิทยานิพนธ์ ก ารทดลองใช้กระบวนการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ของ องค์กร (AIC) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการนำแผนพัฒนาสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาแผนงานป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก ระดับหมู่บ้าน จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

ก ารศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ (AIC) ของประชาชนในหมู่บ้านทดลอง ตลอดทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุม

(2) เพื่อศึกษาผลของการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ ในหมู่บ้านทดลองและหมู่บ้านควบคุม (3) เพื่อเปรียบเทียบผลของการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ ในหมู่บ้านควบคุมและหมู่บ้านทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ได้หมู่บ้านที่มีลักษณะคล้ายกัน 2 หมู่บ้าน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อได้หมู่บ้านทดลอง และหมู่บ้านควบคุม ประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนในหมู่บ้านที่ศึกษาทั้ง 2 หมู่บ้าน ทำการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ได้ประชากรที่จะศึกษาหมู่บ้านละ 90 ครัวเรือน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ตัวแปรต้น คือการจัดทำแผนงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามกระบวนการ AIC และการจัดทำแผนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัวแปรตาม คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำแผนงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไปสู่ก ารปฏิบัติ เครื่องมือในการศึกษา แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดแรกเป็นกิจกรรมแทรกซ้อน ที่ดำเนินการในหมู่บ้านทดลอง ชุดที่ 2 คือแบบสัมภาษณ์ประชาชน เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการนำแผนงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไปสู่การปฏิบัติในหมู่บ้านทดลอ ง และหมู่บ้านควบคุม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการศึกษาหมู่บ้านทดลองมีการประชุม ตามกระบวนการ AIC และมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 33 คน ผู้เข้าประชุมเข้าประชุมครบทุกกระบวนการ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 72.77 เข้าประชุมไม่ครบทุกกระบวนการ 9 คน คิดเป็นร้อยละ 27.28 เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเขียนแผนงานได้ 2 แผนงานคือ แผนงานป้องกันโรคไข้เลือดออก มี 5 โครงการ และแผนงานควบคุมโรคไข้เลือดออก 4 โครงการ การวัดผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำแผนงานฯไปสู่การปฏิบัติในหมู่บ้านทด ลองและหมู่บ้านควบคุม พบว่า คะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำแผนงานฯไปสู่การปฏิบัติ หลังการทดลองของหมู่บ้านทดลอง และหมู่บ้านควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งสองหมู่บ้าน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำแผนงานฯไปสู่การปฏิบัติ ของทั้งสองหมู่บ้าน ภายหลังการประชุมตามกระบวนการ AIC แล้ว ผลปรากฎว่าการนำแผนงานฯไปสู่การปฏิบัติของหมู่บ้านทดลอง และหมู่บ้านควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (P=0.00) โดยหมู่บ้านทดลองมีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติมากกว่าหมู่บ้านควบคุม
ชื่อผู้ทำวิทยานิพนธ์ นิภาภรณ์ หวะสุวรรณ
ชื่อวิทยานิพนธ์ ก ารทดลองใช้กระบวนการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ขององค์กร (AIC) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการนำแผนพัฒนาสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาแผนงานป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก ระดับหมู่บ้าน จังหวัดชัยภูมิ
สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชร แก้วส่อง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ จารุชัยนิวัฒน์
ปีที่จบ 2543

No comments: