Thursday, May 26, 2005

ความวิตกกังวลอันเกิดจากข้อมูลข่าวสารการรณรงค์เรื่องโรคเอดส์ผ่านสื่อมวลชน (ระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2534) : การศึกษาทัศนะในแบบองค์รวม


งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการสร้างและเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลเรื่องโรคเอดส์ ผ่านสื่อมวลชนในประเทศไทย รวมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดต่อสาธารณชนจากวิธีการสร้างและเผยแพร่ ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนโดยใช้ความกลัวเป็นการสร้างความน่าสนใจ
ผลการวิจัย พบว่า


- ข้อมูลข่าวสารโรคเอดส์ผ่านสื่อมวลชนในประเทศไทย ช่วงปี พ..2531 - .. 2534 มีหลายลักษณะซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลข่าวสารในทางลบ 2) ข้อมูลข่าวสารในลักษณะที่คล้ายคลึงกันสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย 3) ข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 4) ข้อมูลข่าวสารที่ขาดการวางแผนและผลิตสื่อ 5) ปรากฏลักษณะของการต่อรองความหมายในข้อมูลข่าวสารโรคเอดส์ 6) ข้อมูลข่าวสารที่ตอกย้ำอ้างอิงถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ 7) ข้อมูลข่าวสารที่สร้างบทบาทผู้นำให้แก่ คุณมีชัย วีระไวทยะ


- ผลกระทบอันเกิดจากลักษณะการสร้างข้อมูลข่าวสารประเภทต่างๆข้างต้น สรุปได้ 5 ประการ คือ
1) เกิดการปฏิเสธข่าวสารโรคเอดส์ 2) เกิดการแบ่งแยกเดียดฉันท์ผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ 3) เกิดความวิตกกังวลจนเกินไป 4) เกิดความเข้าใจผิด 5) สร้างความท้อแท้สิ้นหวังแก่ผู้ติดเชื้อ



ผู้วิจัย - อาภัสรา จันทร์สุวรรณ (2535)


No comments: