Sunday, February 18, 2007

การสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา ระบบควบคุมงานด้านอาหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

A Construction of a Geographic Information System Model : A Case Study of Food Control Systems under the Office of Trat Provincial Public Health

สุกานดา เอี่ยมศิริถาวร (Sukanda Iamsirithawon) ดร. สมจิตร อาจอินทร์ (Dr.Somchit Ard-In)∗∗ จิรัฎฐา ภูบุญอบ (Jirattha Phubunop)∗∗∗

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยคะแนนมาตรฐาน T-Score จากปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งโรงงานผลิตอาหาร แล้วแบ่งระดับโดยใช้อันตรภาคชั้น เป็น4 ระดับ กำหนดค่าคะแนนให้กับทุกระดับการจำแนก สร้างฐานข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการซ้อนทับข้อมูล จากฐานข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงแผนที่ระดับตำบลที่มีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานผลิตอาหาร ผลการวิจัยพบว่า ตำบลที่มีความเหมาะสมมากที่สุดมีจำนวน 4 ตำบล จาก 4 อำเภอ ซึ่งได้เกรดคะแนนระดับเกรด A เนื่องจากมีค่าคะแนนความเหมาะสมของปัจจัยที่ได้จากการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด โดยสรุปแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร ในจังหวัดตราดต่อไป

ABSTRACT

The purpose of this study was to construct a geographic information system model by using standard T-scores from the factors affecting food production factory establishment. The levels were then divided by using stratification into 4 levels. Scores were determined for all levels of discrimination. Databaser were constructed in the manner relations. Then all tambons were evaluated to see which tambons was most appropriate to establish the food production factory by using the method of analyzing data using data overlaying method from the databases in the manner relations to the geographic information systems by multiplying the scores on discrimination according to the model in the order to show mapping at the tambon level appropriate for establishing food production factories. The results of the study revealed that the 4 most appropriate tambons from 4 Amphoes which received a grade A. These tambons have the highest scores on appropriateness of the factors that received from weighting. In conclusion, the constructed geographic information system model could be used as database for supplementing to decision-making on consideration of issuing licences for establishing food production factories in Changwat Trat in the future.

คำสำคัญ : สารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบควบคุมด้านอาหาร Key words : Geographic Information System, Food Control System

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Public Health, Mahasarakham University) ∗∗ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Faculty of Science, Khon Kaen University) ∗∗∗ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Informatics, Mahasarakham University)

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

No comments: