Sunday, February 18, 2007

การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออก

การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออก

ในจังหวัดกาฬสินธุ์โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

A Study of Environmental Factors and Hemorrhagic Fever Occurrcnce in Changwat

Kalasin by Applying Geographic Information System

อดุลย์ กล้าขยัน (Adul Khlakhayan)*

วิรัตน์ พงษ์ศิริ (Wirat Pongsiri)**

จิรัฏฐา ภูบุญอบ (Jirattha Phubunop)**

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย ข้อมูลด้านผู้ป่วย ได้แก่ อายุ ช่วงฤดูการเจ็บป่วย และชนิดของเชื้อโรค จากจำนวนผู้ป่วยทุกคน ในช่วง พ.. 2544 – 2548 จำนวน 4,436 คน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยไข้เด็งกิว (Dengue Fever) จำนวน 1,903 คน ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) จำนวน 2,603 คน และไข้เลือดออกช็อก (Dengue Shock Syndrome) จำนวน 130 คน และข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก จำนวน 9 ปัจจัย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติเชิงพรรณาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์ คือ (Multinomial Logistic Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคไข้เลือดอก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < lang="TH">ได้แก่ ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝน จำนวนแหล่งน้ำ และอายุของผู้ป่วย โดย ฤดูฝนและฤดูหนาวมีผลต่อการเกิดโรค ถึง 1.7-2.0 เท่า ด้านปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 232.0 - 300.5 มิลลิเมตร มีผลต่อการเกิดโรค 1.6 เท่า ด้านจำนวนแหล่งน้ำน้อยกว่า 89 แห่ง มีผลต่อการเกิดโรค 1.6 เท่า และด้านกลุ่มอายุน้อยกว่า 12 ปี มีโอกาสเกิดโรค 0.7 เท่า ตามลำดับ ความแม่นยำในการพยากรณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก โดยมีปัจจัยสภาพแวดล้อม 4 ด้าน สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 60.7 และเมื่อนำปัจจัยสภาพแวดล้อม มาสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการต่อการเกิดโรค โดยประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ จากทั้งหมด 135 ตำบล พบว่าตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับสูง 1 ตำบล คือ ตำบลเหล่าอ้อย ตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับปานกลาง จำนวน 112 ตำบล และตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับต่ำ จำนวน 22 ตำบล

Keywords : Geographic information system, Hemorrhagic fever

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, โรคไข้เลือดออก

* คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ((Faculty of Public Health, Mahasarakham University))

** คณะวิทยาการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Informatics, Mahasarakham University)


ABSTRACT

The purposes of this study were to examine the influences of environmental factors and hemorrhagic fever occurrences, and to construct an area model at risk of hemorrhagic fever occurrences of Changwat Kalasin. This study applied the geographic information system using secondary data comprising patient data. The data involved ages, seasons of sickness, and kinds of disease; collected from a total of 4,436 patients during 2001-2005. There patients were divided into 1,903 dengue fever patients, 2,603 dengue hemorrhagic fever patients, and 130 dengue shock syndrome patients. The study also used data concerning 9 risk factors of hemorrhagic fever occurrence. A questionnaire was used for collecting data. The descriptive statistics used were percentage, mean, and standard deviation. The analytical statistic used for analysis of the data was multinomial logistic regression analysis.

The results of the study revealed the following. The environmental factors related to hemorrrhagic fever occurrences at the level of significance (p<>

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

No comments: