Thursday, February 15, 2007

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของ สถานบริการสาธารณสุข : กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของ สถานบริการสาธารณสุข : กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

Geographic Information System Application to Development Model Distribution of

Public Health Service Center : A Case Study in Kalasin Province

อาษา อาษาไชย (Asa Asachai)*

สมจิตร อาจอินทร์ (Dr. Somchit Arch-Int)**

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ (Surasak Tiabrith)***

บทคัดย่อ

ระบบการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังจัดระบบบริการสาธารณสุขไม่ครอบคลุมประชาชนในพื้นที่ การวางแผนจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขที่ผ่านมายึดเกณฑ์ตามจำนวนประชากร ข้อมูลสาธารณสุขไม่ได้แสดงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่อย่างชัดเจน ทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่เกิดประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายสถานบริการสาธารณสุขโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ดัชนีความสะดวกในการเข้าถึงเมือง,ความหนาแน่นประชากร,อัตราส่วนการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข อัตราการมีหลักประกันสุขภาพ และอัตราการผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน นำข้อมูล 135 ตำบล แปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน Z และ T แล้ววิเคราะห์สมการถดถอยโดยวิธี Stepwise คำนวณหาความเหมาะสมของจำนวนสถานบริการ

สาธารณสุข ได้สมการทำนายแนวโน้มการกระจายของสถานบริการสาธารณสุขดังนี้

จำนวนสถานบริการสาธารณสุข = 45.873 + 0.213 (อัตราการมีหลักประกันสุขภาพ)

จากการทำนายพบว่า มีจำนวน 97 ตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขเพิ่ม โดยสรุปการพัฒนาแบบจำลองการกระจายสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรมีการศึกษาข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำไปปรับนโยบายและทิศทางการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมพื้นที่และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

ABSTRACT

The medical and public health service system in Kalasin Province area has not yet systemized the health care service that can cover all the people in the area. The public health resource allotment planning in the past held the criteria based on the population. The public health information did not demonstrate clear spatial relationships. As a result, the resources allotments were inefficient. This study implemented different factors in developing a model of distributing health care service centers by applying the geographic information system. The model of distributing health care service centers was developed by analyzing convenience indices of accessing towns, population density,

คำสำคัญ : สถานบริการสาธารณสุข สารสนเทศภูมิศาสตร์ Keywords : Public Health Service Center, geographic information system

* มหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น *** อาจารย์คณะสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


public health resource distribution ratios, health assurance rates, and rates of passing the minimum health requirements. Data involving all the 135 tambon were transformed into standard Z-scores and standard T-scores respectively. The obtained values were analyzed by means of stepwise regression equation analysis. The obtained analysis results were then calculated for appropriateness of the numbers of health care service centers in kalasin area. A predictive equation of the trend of distributing health care service centers was as below.

The number of health care service centers = 45.873 + 0.213 (rate of health assurance)

It was found that there were 97 tambon in Changwat Kalasin in which additional health care service centers should be established. In conclusion, for development of the model of distributing health care service centers in Kalasin province, the data concerned in each period of time should be examined in order to use such data for adjusting the policy and direction of developing the health care service centers to cover all the area and to respond to the people’s actual needs.

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

No comments: