Friday, January 26, 2007

การศึกษาการสูญเสียการได้ยินในพนักงานดิสโก้เธอ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ปี 2548-2549


กนกภรณ์ แสงประทีป
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

- เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะประชากร สุขภาวะ สุขภาพทั่วไป กับระดับการได้ยินของพนักงาน

- ผลการศึกษาในปี 2548 พบว่า พนักงานจำนวน 55 คน ส่วนใหญ่ เป็นหญิง (50.90%) มีอายุระหว่าง 20-29 ปี (65.45%) ทำงานเป็นพนักงานเสริฟ (38.19%) มีประวัติการเจ็บป่วยที่สำคัญ พบว่า มีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคปวดศีรษะไมเกรน โรคกระเพาะอาหารและโรคภูมิแพ้ (5.45%) ส่วนอาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน มีอาการปวดหู 2 ข้าง (21.82%) คือ มีเสียงรบกวนหูสองข้าว (23.64%) ระดับเสียงที่รบกวนเป็นเสียงสูง (18.19%) ระยะเวลาที่ทำงาน 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน (20%) และผลการศึกษา ปี 2549 พบว่า พนักงานจำนวน 41 คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง (63.42%) มีอายุระหว่าง 25-29 ปี (53.66%) ทำงานเป็นพนักงานเสริฟ (34.15%) ประวัติการเจ็บป่วยที่สำคัญ พบว่า มีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคศีรษะไมเกรน (12.20%) ส่วนอาการเจ็บป่วยปัจจุบัน มีอาการปวดหูทั้งสองข้าง (31.71%) มีเสียงรบกวนในหูทั้งสองข้าง (36.59%) ระดับเสียงที่รบกวนเป็นเสียงสูง (29.27%) ระยะเวลาที่ทำงาน 10 เดือนถึง 1 ปี (14.64%) เมือทดสอบความสัมพันธ์ ปี 2548 - 2549 พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการได้ยิน สำหรับตรวจสุขภาพหูของพนักงาน จำนวน 2 แห่ง ปี 2548 พบว่า มีระดับการได้ยินในช่วงการรับฟังคำพูดผิดปกติ ระดับตึงน้อย (80.49%) ระดับปานกลาง (14.64%) ระดับรุนแรง (2.44%) สำหรับระดับการได้ยินในช่วงความถี่สูงผิดปกติ (12.20%) การเฝ้าระวังเสียงดังในดิสโก้เธค จำนวน 2 แห่ง ปี 2548 พบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับสูงสุดเพิ่มขึ้น ที่ 99.30, 89.30 dB(A) และค่าเฉลี่ยระดับเสียงต่ำสุดที่ 91.10} 82.07 dB(A)




จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร


No comments: