Friday, December 15, 2006

การพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในศูนย์สุขภาพชุมชน



จุไรวรรณ ศิริรัตน์, สมเกียรติ สิริรัตน์พฤกษ์, อรพันษ์ อัมติมานนท์ และคณะ
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

บทนำและวัตถุประสงค์
- เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ
(Operation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในศูนย์สุขภาพชุมชน พัฒนาหลักสูตรด้านการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และทดลองรูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ขอนแก่น ลำพูน และพะเยา

วิธีการศึกษา
- กำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และรูปแบบการจัดบริการ อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม สำหรับสถานีอนามัยตามบทบาทและพัฒนาหลักสูตร โดยกระบวนการประชุมผู้เกี่ยวข้อง และให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา นำหลักสูตรที่ได้อบรมให้ทีมงานในระดับตำบลและอำเภอจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันเพื่อทดลองรูปแบบในพื้นที่คัดเลือก นิเทศติดตาม

ผลการศึกษา
- รูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1. ด้านการให้บริการ (งานบริการเชิงรุกในชุมชน ให้บริการในสถานบริการสุขภาพ งานบริการต่อเนื่องและงานอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน) 2. ด้านการบริหารจัดการ 3. ด้านวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรการจัดบริการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยประกอบด้วยเนื้อหา 10 วิชา ใช้เวลาอบรม 24 ชั่วโมง (4 วัน) และอบรมกลุ่มเป้าหมาย ผลการประเมินพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม สูงกว่าการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value < style="font-size: 14pt; font-family: "Angsana New";" lang="TH">รวมทั้งสามารถระบุสิ่งคุกคามสุขภาพ การประเมินความเสี่ยงและการควบคุม และการบริการสุขภาพที่เหมาะสมได้ถูกต้อง ผลการทดลองรูปแบบการจัดบริการพบว่า มีการจัดบริการอาชีวอนามัยในชุมชนให้แก่กลุ่มอาชีพเกษตรกรรมและกลุ่มแรงงานในชุมชนจำนวน 7 และ 3 ของพื้นที่เป้าหมายตามลำดับ

วิจารณ์และสรุป
- ศูนย์สุขภาพชุมชนสามารถจัดบริการอาชีวอนามัยและสร้างสุขภาพ คนทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรและการสนับสนุนของเครือข่ายหน่วยงานสาธารณสุขระดับจังหวัด การเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรให้มีความรู้ และทักษะในการดำเนินงานเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการผลักดันให้กำหนดเป็นนโยบายในระดับชาติ และมีการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างเพียงพอ


จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข

No comments: