Monday, December 18, 2006

การพัฒนาเครือข่ายในการสร้างสุขภาพ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุร

ดร.มะลิ วิมาโน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวิหารแดง อำเภอวิหารแดง จ.สระบุรี

บทนำและวัตถุประสงค์
- การสร้างสุขภาพนับเป็นงานที่ยากและมีความซับซ้อนในการปฏิบัติค่อนข้างมาก หากไม่มีการสร้างเครือข่ายในการทำงาน ต่างฝ่ายต่างทำงาน ปัญหาต่างๆจะไม่ได้รับการแก้ไข และประชาชนไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากวิถีชีวิตต่างคนต่างอยู่ ความเอื้ออาทรและความร่วมมือในสังคมลดลง ตลอดจนประชาชนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคต่างๆที่สามารถ ป้องกันได้ ดังสาเหตุการป่วยของประชาชนในจังหวัดสระบุรี ปี 2547 ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมอง อัตรา 780.4, 599.6 และ 350.7 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ทำอย่างไรจึงจะให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างสุขภาพ

วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของพหุภาคีให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพของประชาชน

วิธีการศึกษา
- การวิจัยและพัฒนา ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research :PAR ) เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ พบว่า สถานีอนามัยบางแห่ง อบต. ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี บางแห่ง อบต. สนับสนุนเฉพาะการป้องกันโรคไข้เลือดออกเท่านั้น มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านสร้างสุขภาพ จัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ อบต. และปลัด อบต. จัดประชุมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่อำเภอวิหารแดง จำนวน 54 หมู่บ้าน/13 ชุมชน หมู่บ้านละ 5 คน มีการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหาร่วมกัน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุม ชน (จัดตลาดนัดสุขภาพ) จำนวน 21 หมู่บ้าน และจัดมหกรรมสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 26 โรงเรียน จัดกิจกรรมตามมาตรฐานความรู้ครอบคลุม 6 อ. และประเมินผล

ผลการศึกษา
+- ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน จากการวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหาร่วมกันเป็นจัดสำคัญนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและจัดกิจกรรมในช ุมชนเป็นอย่างดี ประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของหลังคาเรือน มีการดูแลสุขภาพตัวเองดีขึ้น เครือข่ายในการสร้างสุขภาพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดย อบต.สนับสนุนงบประมาณด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น 300%

วิจารณ์และสรุป
* จากการวิเคราะห์ปัญหาและการจัดตลาดนัดสุขภาพ นับว่า มีความสำคัญต่อกระแสของชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพหุภาคีในการสร้างสุขภาพของประชาชน และปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไข โดยประชาชนมีส่วนร่วม

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549

No comments: