Monday, December 18, 2006

การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในชุมชนของประเทศไทย ปี 2548

จุฑารัตน์ ถาวรนันท์, สุพินดา ตีระรัตร์ - สำนักโรคติดต่อทั่วไป
สุพร สาระกูล - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8
สมชัย จิรโรจน์วัฒน์ – สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3
วราภรณ์ อึ้งพานิชย์ – สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2
สุรชัย ศิลาวรรณ - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5
บงกช เชี่ยวชาญยนต์ -สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12

ก ารป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเป็นนโยบายสำคัญ ซึ่งรัฐบาลได้เร่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 อันเนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย

การศึกษานี ้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนในการป้องกันไข้หวัดนก การรับรู้สื่อชนิดต่างๆ ลักษณะการเลี้ยงสัตว์ปีกของประชาชน และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการเฝ้าระวังไข้หวัดนกในพื้นที่พบเชื้อและไม่พบเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีก โดยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจเปรียบเทียบ เก็บข้อมูลประชาชน กลุ่มละ 30 หมู่บ้านต่อ 1 เขต (12 เขต) รวม 8,958คน ข้อมูลผู้เลี้ยงสัตว์ปีก 3,068 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านละ 3-5 คน รวม 3,106 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ไคสแควร์ และ t-test

ผลการศึกษาพบ ว่า ประชาชนมีความรู้โรคไข้หวัดนกในระดับดี แต่ยังมีความรู้บางเรื่องไม่ถูกต้อง ได้แก่ ไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากไก่อย่างเดียว (64.0%) การกำจัดสัตว์ปีกไม่จำเป็นต้องใส่ถุงมือยางหรือถุงพลาสติก (65.2%) และมูลของสัตว์ปีกไม่มีเชื้อไข้หวัดนก (47.2%) ทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้หวัดนกในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีทัศนคติที่ไม่เอื้อต่อการป้องกันโรค ได้แก่ การล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ หลังการสัมผัสสัตว์ปีกเป็นเรื่องยาก (51.6%) ส่วนการปฏิบัติตนของประชาชนพบว่า มีการล้างมือฟอกสบู่หลังจับสัตว์ปีก เพียงร้อยละ 43.5 มีการล้างหรือเช็ดทำความสะอาดไข่ก่อนนำมาปรุงอาหารร้อยละ 37.0 และไม่เคยแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อสัตว์ดิบกับอาหารอื่นร้อยละ 73.4 เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่พบเชื้อและไม่พบเชื้อ H5N1 พบว่า ความรู้และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนในพื้นที่พบเชื้อมีทัศนคติที่เอื้อต่อการป้องกันโรคมากกว่าพื้นที ่ไม่พบเชื้อ (P< 0.05) สำหรับการรับรู้ข่าวสารโรคไข้หวัดนกนั้น ส่วนใหญ่รับรู้จากสื่อโทรทัศน์ร้อยละ 66.1 อสม.ร้อยละ 9.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร้อยละ 7.4 ส่วนลักษณะการเลี้ยงสัตว์ปีก พบไก่พื้นเมือง ไก่ชน และเป็ด ส่วนใหญ่เลี้ยงแบบปล่อยร้อยละ 74.3, 52.0 และ 63.2 ตามลำดับ แต่พื้นที่พบเชื้อมีการเลี้ยงแบบปล่อยน้อยลงเมื่อเทียบกับพื้นที่ไม่พบเชื้อ (P<0.05) และ อสม. ในพื้นที่พบเชื้อมีกิจกรรมการเฝ้าระวังและได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในการคว บคุมโรคมากกว่าพื้นที่ไม่พบเชื้อ (P < 0.05) โดยส่วนใหญ่มีส่วนในการให้ความรู้แก้เพื่อนบ้าน สำรวจและสังเกตสัตว์ปีกป่วยแต่ยังไม่ค่อยเข้าร่วมในการทำลายสัตว์ปีก (28.1%) และการสังเกตอาการผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในหมู่บ้านมีเพียงร้อยละ 39.3 จึงมีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและ อสม. ให้มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันโรคไข้หวัดนกข องประเทศไทย

จากผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

No comments: