Wednesday, October 25, 2006

รายละเอียดชาว ส.ม.1 มมส ส่งผลงานเข้าร่วมประชุมวิชาการที่ มหิดล

เนื่องจาก ม.มหิดล ได้เชิญชวนให้ส่งผลงานและร่วมประชุมเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1 เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระหว่าง 1-2 ก.พ.2550 ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น

มีชาว ส.ม1 มมส ได้ส่งบทคัดย่อ thesis เพื่อร่วมนำเสนอดังนี้

นาง จุฬาภรณ์ ชัยรัตน์
An Application of the Geographical Information System to Analyzing of Risk of Hemorrhagic Fever Occurrence in Nong Bua Lam Phu Province.

นางสาว นวลจันทร์ สายวงค์
Bacteriological Quality of Household Drinking Waters in Joodmoung Subdistrict, Sila_Lad District, Sri_Saket Province, Thailand.


นายวัฒนา คงนาวัง
Developing a Health Information Systems Model to Support Decision-making.

นายพงษ์ศักดิ์ เชาว์วันกลาง
Development of Tuberculosis Treatment Data Management System in Hospital of Nakhonratchasima Province

นายอดุลย์ กล้าขยัน
A Study of Environmental Factors and Hemorrhagic Fever Occurrcnce in Changwat Kalasin by Applying Geographic Information System



นายอาษา อาษาไชย
The Geographic Information System Application to Developing a Model of Distribution of Public Health Service Places : A Case Study in Changwat Kalasin

นางสาวศิริจิต เทียนลัคนานนท์
USING A GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEMS FOR MAPPING THE DISTRIBUTION OF DENTAL PERSONNAL ; A CASE STUDY MUKDHAN PROVINCE


นางสุกานดา เอี่ยมศิริถาวร
A Construction of a Geographic Information System Model : A Case Study of Food Control Systems under the Office of Trat Provincial Public Health


โดยส่งผลงานเข้าร่วมในสาขา Health Science รูปแบบการนำเสนอแบบโปสเตอร์
ซึ่งได้ดำเนินการจัดส่งไฟล์บทคัดย่อ รูปแบบ Word และ Pdf ทางเวบไซต์ของมหิดล ตั้งแต่ 27 ต.ค.2549 แล้ว

สุดท้ายใครจะได้รับการพิจารณาและเข้าร่วมงานนี้บ้าง
โปรดติดตามข่าวสารต่อไป

รายละเอียดเพิ่้มเติม

กำหนดส่งบทคัดย่อ ภายใน 3 พฤศจิกายน 2549
กำหนดลงทะเบียน ภายใน 12 มกราคม 2550


รูปแบบการประชุม
การบรรยายพิเศษ โดยวิทยากรรับเชิญ
การเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยาย และโปสเตอร์
การเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย (Oral Presentation)
ของผู้เสนอขอรับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น
ประจำปี 2549

1. ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท-เอก
ที่ได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์จากบัณฑิตวิทยาลัยของแต่ละสถาบันการศึกษา
และอยู่ในระหว่างดำเนินการ
2. ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท-เอก ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วของ
ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2548 และปีการศึกษา 2549
3. ขอบข่ายของผลงานวิทยานิพนธ์ให้อยู่ในกลุ่ม ดังต่อไปนี้
- กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์
4. ประเภทของการเสนอผลงาน
- แบบบรรยายต้องนำเสนอด้วย power point
และใช้เวลาในการนำเสนอเรื่องละ 15
นาที ซักถาม
5 นาที
- แบบโปสเตอร์ ต้องยืนประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดให้
5. ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน สามารถเสนอด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

ข้อกำหนดในการเสนอผลงาน
1. วิธีการเตรียมบทคัดย่อ

บทคัดย่อต้องพิมพ์ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยใช้โปรแกรม
Word 2000, 2003 หรือ XP และทำการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ Portable
Document
Format (PDF) แต่ละบทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 300 คำ
เรียบเรียงให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง สาระสำคัญประกอบด้วย วัตถุประสงค์
วิธีการหรือแนวทางการศึกษา ผลการวิจัยและ ผลสรุป รวมทั้งแหล่งทุนสนับสนุน
ควรอ่านทบทวนและตรวจทานแก้คำผิดให้เรียบร้อย
เพื่อให้สามารถนำไปลงพิมพ์ได้ทันที
โดยใช้ตัวอักษรแบบ Angsana New ขนาด 14 สําหรับภาษาไทย และใช้ Times New
Roman
ขนาด 12 สำหรับภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องให้ใช้ตัวหนา (bold)
และใส่เครื่องหมายดอกจัน
(*) หลังชื่อผู้นำเสนอ ส่งภายในวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2549
2. วิธีการเตรียมบทความวิจัยเพื่อลง Proceedings

บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อลงหนังสือรวมบทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุม
ความยาว 5-8 หน้ากระดาษ A4 โดยใช้ตัวอักษรแบบ Angsana New ขนาด 14
สําหรับภาษาไทย
และใช้ Times New Roman ขนาด 12 สำหรับภาษาอังกฤษ
โดยให้เตรียมบทความเต็มรูปแบบ
ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการศึกษา บทวิจารณ์ บทสรุป
กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง บันทึกลงแผ่นซีดี หรือแผ่นบันทึกข้อมูล
(ดิสเก็ต) ในรูปแบบของ Portable Document Format (PDF)
ส่งภายในวันศุกร์ที่ 5
มกราคม 2550
3. วิธีการจัดทำโปสเตอร์
ให้จัดทำโปสเตอร์ขนาด กว้าง x สูง 0.9 m x 1.0 m
สามารถนำเสนอด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโดยต้องระบุในใบส่งผลงาน
ขนาดตัวอักษรในโปสเตอร์ ให้ใช้ขนาด ไม่เล็กกว่า 0.5 เซนติเมตร
สามารถอ่านได้ชัดเจนในระยะห่าง 1 เมตร
ในโปสเตอร์ให้แสดงเลขที่โปสเตอร์อย่างชัดเจน
พร้อมทั้งให้มีรูปถ่ายของผู้นำเสนอผลงานในโปสเตอร์ด้วย
เนื้อหาโปสเตอร์ต้องไม่ใช่การนำบทคัดย่อไปขยายขนาดเป็นโปสเตอร์ ประกอบด้วย
หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์การศึกษา วิธีการศึกษา ผลการศึกษา
ข้อสรุปที่ให้รายละเอียดมากกว่าในบทคัดย่อ

ติดโปสเตอร์และถอดโปสเตอร์ตามเวลาที่กำหนดในใบตอบรับผลงาน
และต้องยืนประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดให้

4. กำหนดการส่งผลงาน
4.1 ให้ส่งบทคัดย่อได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันศุกร์ที่ 3
พฤศจิกายน
2549 ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ทาง www.grad.mahidol.ac.th

4.2 บัณฑิตวิทยาลัย
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกให้เสนอผลงานวันศุกร์ที่
15 ธันวาคม 2549
4.3
ผู้เสนอผลงานต้องส่งบทคัดย่อที่แก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมกับบทความวิจัย
เพื่อเตรียมลง Proceedings จัดทำเป็นข้อมูล 3 ส่วน คือ
1) บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2) บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษบันทึกโดยใช้โปรแกรม
WORD 2000, 2003 หรือ XP และ
3) บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
และทำการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ Portable Document Format (PDF)
ส่งไปยังบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายในวันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2550
ทาง
www.grad.mahidol.ac.th

อนึ่ง
ผู้เสนอผลงานต้องแก้ไขบทความวิจัยตามการเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิให้เรียบร้อยก่อน
บัณฑิตวิทยาลัยจึงจะนำลงเผยแพร่ในหนังสือรวมบทความ (Proceedings)


ผู้เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิจัย
1. นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ให้ลงทะเบียนภายในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม
2550
ไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียน แต่ต้องชำระค่าหนังสือรวมบทความวิจัย
(Proceedings) จำนวน
500 บาท
2. นักศึกษาจากสถาบันอื่น ให้ลงทะเบียนภายในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม
2550
โดยชำระค่าลงทะเบียน 300 บาท/คน/ผลงาน และชำระค่าหนังสือรวมบทความวิจัย
(Proceedings) จำนวน 500 บาท/เล่ม รวมเป็นเงิน 800 บาท/คน

ผู้เข้าฟังการเสนอผลงาน
1. นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ลงทะเบียนภายในวันศุกร์ที่
12 มกราคม
2550 ไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียน

2. นักศึกษาและบุคลากรจากสถาบันอื่นและผู้สนใจทั่วไป
ให้ลงทะเบียนภายในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2550 โดยชำระค่าลงทะเบียน 300
บาท/คน
ผู้เข้าฟังการเสนอผลงาน หากต้องการหนังสือรวมบทความวิจัย (Proceedings)
ให้สั่งจองและชำระค่าหนังสือเล่มละ 500 บาท


หมายเหตุ
1. อัตราค่าลงทะเบียน 300 บาทนี้ รวมเอกสารประกอบการสัมมนา
อาหารกลางวัน
และอาหารว่าง เป็นค่าลงทะเบียนสำหรับหนึ่งคนต่อหนึ่งผลงาน

2.. ข้าราชการสามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้จากต้นสังกัด
และเข้าร่วมประชุมวิชาการได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
3.
ผู้ที่ต้องการเสนอผลงานต้องลงทะเบียนและชำระค่าลงทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์เสนอผลงาน
4. หนังสือรวมบทความวิจัย (Proceedings)
จะจัดส่งไปให้ผู้ที่สั่งจองและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ภายหลังการประชุม
ประมาณ 1
เดือน

ชำระเป็นเงินสด ได้ที่
1. งานเงินรายได้ บัณฑิตวิทยาลัย อาคารบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
โทรศัพท์ 0-2441-4125 ต่อ 304, 305, 306 โทรสาร 0-2441-4189
2. สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย (สาขาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ชั้น 3
อาคารรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โทรศัพท์ 0-2419-7060
โทรสาร
02419-9485
3. สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย (สาขาคณะวิทยาศาสตร์) ตึกวิจัย (R) ชั้น 1
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 0-2201-5000 ต่อ 5206, 5207
โทรสาร
0-2354-7173
4. สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย (สาขาคณะทันตแพทยศาสตร์) อาคาร 1 ชั้น 4
โทรศัพท์
0-2354-0956-7 โทรสาร 0-2644-8644-6 ต่อ 1414
5. สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย (สาขาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน) อาคารจำลอง
หะริณสุต ชั้น
5 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 0-2354-9100-19 ต่อ
1557, 1558
โทรสาร 0-2354-9223

ชำระผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาศิริราช
เลขที่ 016-3-00325-6
ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล และต้อง Fax
ใบนำฝากที่ระบุชื่อ-สกุลผู้ลงทะเบียนและจำนวนเงินไปที่งานเงินรายได้
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หมายเลข Fax : 0-2441-4189


บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและดำเนินการ
ดังนี้
1. พิจารณาการเลือกกลุ่มการเสนอผลงานและประเภทของการเสนอผลงาน
2.
พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมและที่จะลงตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความวิจัย
(Proceedings)
3. พิจารณาตัดสิทธิ์การเสนอผลงานวิจัยในการประชุม กรณี
- บทคัดย่อ, บทความวิจัย
และโปสเตอร์ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบ
ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด รวมทั้ง
ไม่แก้ไขตามการเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
- การลงทะเบียนและการชำระค่าลงทะเบียนล่าช้า และ/หรือไม่ครบถ้วน
4. การพิจารณาผลงานโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
ถือเป็นที่สิ้นสุด


บทคัดย่อต้องพิมพ์ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ทั้งภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ
โดยใช้โปรแกรม Word 2000, 2003 หรือ XP และทำการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ
Portable
Document Format (PDF) และขอให้ส่ง file ทั้งรูปแบบ word และ PDF
แต่ละบทคัดย่อควรมีความยาวโดยประมาณไม่เกิน 300 คำ
เรียบเรียงให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง
ซึ่งสาระที่สำคัญของบทคัดย่อจะประกอบด้วย
วัตถุประสงค์ วิธีการ หรือแนวการศึกษา ผลการวิจัย และบทสรุป
อาจพิมพ์ตอนท้ายเกี่ยวกับเงินทุนสนับสนุนการวิจัย ควรอ่านทบทวนตรวจทาน
แก้คำผิดให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เพื่อสามารถนำเอาข้อความใน "บทคัดย่อ"
ทั้งหมดไปลงพิมพ์ได้ทันที

วิธีการเตรียมบทคัดย่อ (ตามตัวอย่างบทคัดย่อ)
แบบฟอร์มสำหรับพิมพ์บทคัดย่ออยู่บนกระดาษขนาด A4 ประกอบด้วยกรอบ
สี่เหลี่ยม 1 กรอบ
โดยเส้นกรอบด้านบนอยู่ห่างจากขอบกระดาษ 11/4 นิ้ว ด้านขวา 7/8 นิ้ว
ด้านล่าง
และด้านซ้าย 1 นิ้ว มีเส้นแนวนอนแบ่งพื้นที่กรอบใหญ่ออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ
กัน
การตั้งกั้นหน้า
ก. การจัดตำแหน่ง (Alignment) เป็นแบบชิดขอบ (Thai justified)
ข. ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็นขนาด single space

การพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยอยู่ตอนบน และภาษาอังกฤษอยู่ตอนล่าง ภายใน
เนื้อที่ที่ตีกรอบไว้เท่านั้น โดยมีรูปแบบ และขนาดตัวหนังสือตามที่ระบุไว้
การพิมพ์ภาษาไทย
ก. ชื่อเรื่องงานวิจัยไม่ควรเกิน 2 บรรทัด โดยใช้ ตัวอักษรชนิด Angsana
New ขนาด 14
Pt Bold ให้ตัวอักษรแรกเว้นระยะห่างจากขอบกรอบแบบฟอร์ม 1/2 นิ้ว
เพื่อทำเป็นกรอบให้เจ้าหน้าที่ใส่หมายเลขบทคัดย่อ
ข. บรรทัดถัดมาให้พิมพ์ ชื่อ-นามสกุล ผู้วิจัย โดยใช้ตัวอักษรชนิด Angsana
New ขนาด
14 Pt ไม่ต้องใส่ชื่อปริญญาหลังผู้วิจัย และให้เน้นตัวอักษรทึบ
พร้อมใส่เครื่องหมาย
* หลังชื่อ สกุลผู้นำเสนอผลงาน กรณีมีผู้วิจัยเกิน 3 คน ให้พิมพ์
ชื่อ-นามสกุล
เพียง 3 คน ตามด้วย คณะ หลังพิมพ์ชื่อ ผู้วิจัยให้พิมพ์ ชื่อสถาบันได้เลย
โดยพิมพ์อยู่ในวงเล็บ
ค. ชื่อเรื่องงานวิจัย ชื่อผู้วิจัย และชื่อสถาบัน รวมกันต้องไม่เกิน 5
บรรทัด
ง. เริ่มต้นพิมพ์เนื้อเรื่องบทคัดย่อโดยขึ้นบรรทัดใหม่
ชิดขอบซ้ายของกรอบแบบฟอร์มใช้ตัวอักษรชนิด Angsana New ขนาด 14 Pt
ส่วนนี้จะพิมพ์ได้ประมาณ 15 บรรทัด

การพิมพ์ภาษาอังกฤษ
ก. ชื่อเรื่องงานวิจัยไม่เกิน 2 บรรทัด โดยใช้ ตัวอักษรชนิด Times New
Roman ขนาด
12 Pt Bold และพิมพ์ตัวอักษรแรกเว้นระยะห่างจากขอบกรอบแบบฟอร์ม 1/2 นิ้ว
เพื่อทำเป็นกรอบให้เจ้าหน้าที่ใส่หมายเลขบทคัดย่อ
ข. บรรทัดถัดมาใช้ Capital letter สำหรับพิมพ์อักษรตัวแรกของชื่อ
และนามสกุลของผู้วิจัย โดยใช้ตัวอักษรชนิด Times New Roman ขนาด 11 Pt
ไม่ต้องใส่ชื่อปริญญาหลังผู้วิจัย ให้เน้นตัวอักษรทึบ พร้อมใส่เครื่องหมาย
*
หลังนามสกุล ผู้นำเสนอผลงานกรณีมีผู้วิจัยเกิน 3 คน ให้พิมพ์ชื่อ-นามสกุล
เพียง 3
คน ตามด้วย et.al.
หลังพิมพ์ชื่อผู้วิจัยให้พิมพ์ชื่อสถาบันต่อได้เลยโดยพิมพ์อยู่ในวงเล็บ
ค. ชื่อเรื่องงานวิจัย ชื่อผู้วิจัย และชื่อสถาบัน รวมกันต้องไม่เกิน 5
บรรทัด
ง. เริ่มต้นพิมพ์เนื้อเรื่องบทคัดย่อโดยขึ้นบรรทัดใหม่
ชิดขอบซ้ายของกรอบแบบฟอร์มใช้ตัวอักษรชนิด Times New Roman ขนาด 11 Pt
ส่วนนี้จะพิมพ์ได้ประมาณ 15 บรรทัด

ขีดเส้นใต้ข้อสรุป และ Conclusion ของงานวิจัย
การบันทึกบทคัดย่อลงในแผ่นบันทึกข้อมูล ให้ใช้โปรแกรม Microsoft Word
2000, 2003
หรือ XP
ทำการบันทึกให้อยู่ในรูปแบบ Word document file
และทำการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ
Portable Document Format (PDF) ให้บันทึกข้อมูลลงแฟ้ม 2 แฟ้ม ดังนี้
ก. Ms. Word document file ใช้ชื่อแฟ้มว่า "Abstract.doc"
ข. Portable Document Format (PDF) file ใช้ชื่อแฟ้มว่า "Abstract.pdf"

การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์
การนำเสนอในที่ประชุม ให้ปฏิบัติดังนี้
1. เสนอผลงานวิจัย และยืนประจำ ณ โปสเตอร์ ในวัน และเวลาที่กำหนด
2.
หมายเลขบทคัดย่อแต่ละเรื่องที่จะนำเสนอแบบโปสเตอร์จะระบุด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ
"P" ตามด้วย หมายเลข ตัวอย่าง "P11"
ต้องนำโปสเตอร์ไปติดที่บอร์ดตามหมายเลขบทคัดย่อเรื่องของท่านติดอยู่
3. เนื้อที่บอร์ดที่จะติดโปสเตอร์มีขนาด กว้าง 90 ซม. X สูง 100 ซม.
โดยจัดให้เป็นพื้นที่สำหรับชื่อเรื่อง, ชื่อ-นามสกุลของผู้วิจัย /
ผู้ร่วมวิจัย
และสถาบันตามที่ระบุในบทคัดย่อ
4. เนื้อเรื่องในโปสเตอร์เป็นภาษาไทย / อังกฤษ ประกอบด้วย คำนำ
วิธีการศึกษา
ผลงานวิจัยและบทสรุป และส่วนสำคัญอื่นๆ เท่าที่จำเป็น
5. ควรเขียนตัวอักษร
และใช้รูปให้มีขนาดโตพอที่จะอ่านได้ชัดเจนจากระยะห่าง 1.5
เมตร
6. ไม่ควรใช้กระดาษโปสเตอร์ที่หนัก และหนาเกินไป
การติดโปสเตอร์กับบอร์ด
จะใช้แถบกาวชนิด 2 ด้าน และเพื่อความสะดวก รวดเร็วขอให้เตรียมมาด้วย
7. สำหรับผลงานที่จะนำเสนอในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550
ให้นำโปสเตอร์ไปติดที่บอร์ดตามหมายเลขบทคัดย่อได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์
2550
ระหว่างเวลา 07:30-08:30 น.
และเมื่อเวลาของการนำเสนอสิ้นสุดลงให้เก็บโปสเตอร์ออกจากบอร์ดให้เรียบร้อยภายในเวลา
18:00 น.

8. สำหรับผลงานที่จะนำเสนอในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550
ให้นำโปสเตอร์ไปติดที่บอร์ดตามหมายเลขบทคัดย่อได้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
2550
ระหว่างเวลา 07:30-08:30 น. และเมื่อเวลาของการนำเสนอสิ้นสุดลง
ให้เก็บโปสเตอร์ออกจากบอร์ดให้เรียบร้อยภายในเวลา 18:00 น.

No comments: