Thursday, September 18, 2003

หัวใจของการเขียนบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งของ การวิจัย ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆได้ เป็นอย่างดี
2. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ผู้วิจัยทราบข้อมูลมากมายในเรื่องที่จะทำวิจัยตั้งแต่ขั้นเริ่ม ต้นจนถึงขั้นสุดท้ายของการวิจัย
3. ปัญหาที่สำคัญของกิจกรรมในการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
3.1 การไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมสำหรับการค้นคว้าเอกสาร
3.2 ไม่รู้จักแหล่งของเอกสารและข้อมูล
3.3 ไม่รู้จักหลัก และเทคนิคของการสกัดข้อมูลที่สำคัญออกมาจากเอกสาร และงานวิจัยที่อ่าน
3.4 ไม่รู้จักวิธีเขียนเรียบเรียงเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดจากเอกสารเข้าด้วยกัน
4. สรุปขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นแรก อ่านราบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ ให้รู้เรื่องทั้งหมด
ขั้นที่สอง วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน โดยจับประเด็นใหญ่ๆมาสรุปเป็นตาราง ดังนี้
ก. ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน
ข. รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่าง ตัวแปรที่สำคัญ
ค. เครื่องมือวัดวิธีเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
ง. ผลการวิจัย
ขั้น ที่สาม เขียนเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเรียบเรียงเรื่องที่อ่านในขั้นที่สองให้ต่อเนื่องกัน ลักษณะของความต่อเนื่องอาจพิจารณาได้หลายลักษณะ ลักษณะที่สำคัญและพบมากในการเขียนรายงานวิจัยลงในวารสารวิชาการ ก็คือ ลักษณะการต่อเนื่องของผลการวิจัยและตัวแปรสำคัญๆที่มีบทบาทต่อผลการวิจัย สำหรับหัวข้ออื่นๆที่จะนำมาเขียนขึ้นอยู่กับว่า ผู้วิจัยต้องการนำประเด็นนั้นมาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำมากน้อยแค่ไหน เช่น ขนาดของตัวอย่าง หรือวิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวัด หรือแบบการทดลอง เป็นต้น

ข้อเตือนใจในการเขียนเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. การเขียนเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เลือกเอาเฉพาะข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะศึกษาจริงๆ เท่านั้นมาเขียน ไม่ใช่เป็นการเอาเอกสารและงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้นมาเขียนเรียงใส่เข้าไป เพื่อให้งานวิจัยดูหนามากขึ้น

2. การเขียนเรียบเรียงต้องเน้นในลักษณะของการเชื่อมโยง และความต่อเนื่องของเนื้อหาในประเด็นที่เป็นปัญหาการวิจัย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญมากกว่าที่จะเขียนในลักษณะเรียงต่อเนื่องกันตามระยะ เวลาก่อนหลังของผู้ที่ศึกษาวิจัย และจุดอ่อนข้อนี้มักจะพบบ่อยๆในรายงานวิจัยทั่วๆไป คือ จะเอางานวิจัยของแต่ละคนมาเรียงต่อกันตามระยะเวลาก่อนหลังที่ทำการวิจัยใน แต่ละย่อหน้าไปเลย โดยไม่ได้มีการเชื่อมโยงในเนื้อหาที่สำคัญๆแต่อย่างใด

3. ต้องมีการเขียนสรุปในตอนท้ายด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ข้อความขาดตอนทิ้งค้างไว้เฉยๆ ข้อความที่สรุปจะเป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยที่ศึกษามาแล้วกับงาน วิจัยที่จะศึกษานี้นั้นมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าไม่สามารถสรุป เพื่อชี้จุดตรงนี้ให้เห็นได้ การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่ทำมาแล้ว ก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย แนวทางของการเขียนสรุปสามารถเขียนได้ในหลายลักษณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นสำคัญๆที่ได้จากการอ่านเอกสารและรายงานนั่นเอง

โดย เอกสารของธวัชชัย วรพงศธร [18 ก.ย. 2546 , 10:56:56 น

No comments: