Wednesday, February 28, 2007

อาการป่วยล่าสุดของหนูเล็ก

เช้าวันนี้ โทรไปสอบถามอาการหนูเล็ก ได้รับแจ้งว่า วันจันทร์ที่ 26 ก.พ. หนูเล็กยังไม่ได้ไปหาหมอ เพราะไม่ได้ดูตารางเวรมาก่อน จึงต้องหาวันไปพบแพทย์วันอื่น

แต่วันที่ 1 มี.ค. นี้ หนูเล็กจะต้องไปทำธุระในเมืองอุบล จะถือโอกาสแวะไปพบแพทย์ด้วย

ช่วงนี้เธอรู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อ ซึ่งคาดว่า น่าจะเกี่ยวกับโรคหัวใจ แต่คงต้องขอไปตรวจเพื่อความแน่ใจก่อน
ซึ่งอาการเจ็บนี้ หนูเล็กรู้สึกเจ็บตลอดทั้งวัน บางเวลาจะเจ็บแรงขึ้นแรงขึ้น ซึ่งหนูเล็กก็เตรียมใจไว้เช่นกันว่า มีโอกาสที่ตัวเองจะ fail ได้เหมือนกัน


หนูเล็กอยากจะทำโครงการวิจัยส่ง สสจ. แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะนอนดึกไม่ไหว นอนแต่ละคืนก็ไม่ค่อยเต็มอิ่มเสียอีก

หนูเล็กพยายามหลีกเลี่ยงการขับรถให้มากที่สุด หากขับรถก็ต้องออกแรงทั้งดึงเกียร์ เหยียบเบรค แต่ละจังหวะ ทำให้เจ็บปวดกล้าวเนื้อทั้งนั้น

คงต้องลุ้นให้ไปพบหมอโดยเร็ว อาการหนักถึงเพียงนี้รีบรักษาโดยด่วน เพราะปล่อยมานานแล้ว

Tuesday, February 27, 2007

พี่แจงยังไม่มีกำหนดกลับ สารคาม ขอรอดูลูกชายก่อน

พี่แจงบอกว่า จะขึ้นมาสารคามตอนปลายเดือน ม.ค.50 แต่ไม่ว่างเสียที
หลังจากโทรไปสอบถามแล้ว พี่แจงแจ้งว่า คงรอให้ “ไตเติ้ล” ลูกชายสอบเสร็จก่อน คงเป็นช่วงกลางเดือน หลัง 15 มี.ค.50 จึงจะพาลูกชายขึ้นมาที่สารคามด้วยกัน

พี่แจง ฝากความคิดถึงถึงพี่หน่อย เตือนให้รีบเช็คเวลา และดำเนินการยื่นสอบให้ทันตามกรอบกำหนดเวลา เดี๋ยวเลยเวลาไปจะยุ่งอีก เวลาที่กำหนดไว้จะหมดแล้ว เร่งมือด่วน

ข่าวคราวจากพี่ปุ๊ก สรัญญา

พี่ปุ๊ก ส่งเมล์มาทักทายนายบอนดังนี้ครับ

พี่ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มค.50 แล้วก็อพยพตัวเองมาเรียนภาษาฝรั่งเศสอยู่ที่สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ เลือกมาที่นี่เปลี่ยนบรรยากาศอ่ะนะ พี่พักอยู่บ้านน้องชายมาตั้งแต่หลังปีใหม่แล้วจ้า จะปิดคอร์สวันที่ 23 มีค นี้ ช่วงนี้ใครขึ้นมาเชียงใหม่ก้อกริ๊งกร๊างกันมานะ ใช้เบอร์เดิมไม่เคยเปลี่ยนยกเว้นเปลี่ยนใจเพราะตอนนี้เป็นโสดมา2ปีตามนิตินัย แต่ 4ปีพฤตินัยนะ) และต้องไปเรียนต่อที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพอีก 1 คอร์ส วันที่ 23 มีคถึง 11 พค. ค่ะ ช่วงอยู่ กทม.พักอยู่อพาทเม้นท์แถวอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปเรียนแถวสาธรใต้ จ้า

ที่ผ่านมา พี่ก้อวนเวียนแถว มมส.น่ะแหละ บอนคงรู้ดีมั๊ง เจอนิสิตปเอกเพื่อนๆเราอยู่ ที่ผ่านมาก้อทำงานวิจัยที่รับจนเคลียร์เสร็จหมดแล้วผลงานตามURL ข้างล่างอ่ะนะลองเข้าไปอ่านดูเผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนสาธา อยากให้คนสาธา รู้จัก HIA (Health Impact Assessment) และ Healthy Public Policy มากขึ้น
http://library.hsri.or.th/cgi-bin/websis?search=%CA%C3%D1%AD%AD%D2&from=res1


....
แล้วจะส่งข่าวมาใหม่นะ เอาแบบมันส์ๆๆๆเนอะ 5555
พี่ปุ๊ก

Sunday, February 25, 2007

ความคืบหน้าของ Thesis พี่หน่อย

วันนี้ พี่หน่อยแวะเข้ามานั่งทำ Thesis เพื่อเร่งให้เสร็จจะได้ยื่นเรื่องสอบก่อน Summer 24 มี.ค.50 นี้ โดยนายบอนไปดูแลเช่นเคย

เปิด Notebook ขึ้นมา พี่หน่อยหาไฟล์ word ที่พิมพ์ไว้ไม่เจอ เลยนั่งพิมพ์บทที่ 3 ใหม่ เปิดไปเปิดมาหลายโฟลเดอร์ ถึงค้นพบไฟล์ที่พิมพ์ไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

เมื่อเปิดดูแต่ละไฟล์พบว่า
บทที่ 1 ในส่วนของภูมิหลัง เนื้อหาที่เขียนยังไม่มีน้ำหนัก ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ในหัวข้ออื่นๆก็พิมพ์ไว้แล้ว แต่ยังขาดอีกหลายส่วน


บทที่ 2 เอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง พิมพ์ในส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้บ้างแล้วบางส่วน ส่วนอื่นๆคงต้องเร่งมือพิมพ์ให้เสร็จ

บทที่ 3 พิมพ์เนื้อหาครบทุกหัวข้อแล้ว

บทที่ 4 วันนี้ เริ่มวิเคราะห์สถิติจากที่ได้ลงรหัสข้อมูลไว้ save ไฟล์ เตรียมนำไปปรึกษากับ อ.ที่ปรึกษาอีกครั้ง
พี่หน่อยจะหาเวลา ทั้งลา ทั้งออฟ มานั่งทำ thesis ให้เสร็จให้ได้

Friday, February 23, 2007

หนูเล็ก นวลจันทร์ น่าห่วง ไม่ค่อยสบายเสียแล้ว

โทรไปติดตาม สอบถามข่าวคราวความเคลื่อนไหวล่าสุดของหนูเล็ก วันนี้ อาการค่อนข้างน่าเป็นห่วง

โทรไปพูดคุยด้วย เธอมีอาการเหนื่อยหอบ เมื่อสอบถามว่า เป็นอะไรกันแน่

หนูเล็กบอกว่า
เป็นทั้ง ภูมิแพ้, ธาลัสซีเมีย, ปวดข้อเข่า และอีกอย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่า เป็นโรคหัวใจชนิดไหนหรือเปล่า!!


ตอนนี้หนูเล็กย้ายมาทำงานที่ สอ.ผักแพวมีพื้นที่รับผิดชอบ 18 หมู่บ้าน งานหนักกว่าที่เดิม เลยไม่มีเวลาไปพบแพทย์เสียที

โทรคุยๆไป หนูเล็กบอก มีอาการเหนื่อย ใจสั่น

วันจันทร์ที่ 26 ก.พ. นี้ หนูเล็กว่า จะไปหาหมอ เพราะไม่ได้ขึ้นเวร สอ. และมีเวลาว่างพอสมควร

เฮ้อ .. รีบไปรักษาไวๆด้วยนะครับ

Dsc02818
ภาพจากงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อ กันยายน 2549

Thursday, February 22, 2007

คุณหนุ่ย จุฬาภรณ์เตรียมย้ายที่ทำงานใหม่ราวเดือน เม.ย.2550 นี้

เช้าวันนี้ คุณหนุ่ย โทรมาทักทายนายบอน เพราะไม่ได้ยินเสียงมานาน แจ้งว่า ที่ทำงานติด Internet แล้ว เปิดเมล์เห็นข้อความเก่าๆ เมื่อเปิดอ่านเมล์ของนายบอน ก็อ่านไม่ออก Font แปลกๆ




นายบอนเลยแจ้งให้เข้าไปเปิดดูรูปภาพ และข่าวสารคือ เวบข่าวแห่งนี้แหละครับ โดย SMS แจ้งที่อยู่เวบไซต์ให้ทราบทางมือถือของเธอแล้ว


คุณหนุ่ย สอบถามเรื่องการอบรม GIS เพราะได้ข่าวว่าทางคณะสาธารณสุข มข. จะจัดอบรม GIS พื้นฐาน

ถ้าเป็นพื้นฐาน ย่อมเป็นการเรียนรู้การใช้โปรแกรมขั้นเริ่มแรก เอาไว้ค่อยมาอบรมในระดับ advance หรือ ระดับประยุกต์ใช้งานอื่นๆดีกว่า

คุณหนุ่ยแจ้งว่า เม..ย.2550 นี้ จะได้ย้ายที่ทำงานอีกแล้ว ข่าวคราวความเคลื่อนไหวต้องติดตามกันต่อไป

Sunday, February 18, 2007

ผลการใช้โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3

ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3 อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์

จุดมุ่งหมาย
1) ศึกษาสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3
2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3
3) เปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

ประชากรที่ใช้ใ นการวิจัย ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ฝนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 168 คน แยกเป็นนักเรียนชาย จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 8 ปี จำนวน 30 คน กลุ่มอายุ 9 ปี จำนวน 52 คน และนักเรียนหญิง จำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 8 ปี จำนวน 40 คน กลุ่มอายุ 9 ปี จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 รายการ 2) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมส ร้างสมรรถภาพทางกายโดยการทดสอบค่า ที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกายด้านงอตัวข้างหน้า ยืนกระโดดไกล ลุกนั่ง 30 วินาที วิ่งเก็บของและวิ่งเร็ว 50 เมตร รวม 5 ด้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นตัวบ่งชี้แสดงให้ทราบว่า โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้



จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

เครื่องซัคชั่นดูดแห้ง (Suction Dryer)

ไชยา ทันเอี่ยม
โรงพยาบาลบ้านตาก จังหวัดตาก

วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นเครื่องที่ช่วยทำให้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทยาง สายยางที่ต้องนึ่งแห้งเร็ว ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน ป้องกันการสัมผัสปนเปื้อนฝุ่นละอองควบคุมจำนวนของที่ต้องทำให้แห้ง สามารถจัดเป็นชุดได้เลย ลดระยะเวลาในการจัดชุดใหม่และลดการจัดชุดเครื่องมือผิดพลาดและลดการสูญหาย

วิธีการศึกษา/การประดิษฐ์
- โดยการนำครื่องซัคชั่นเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาเชื่อมต่อสายยางเพื่อเป็นข้อต่อ กับอุปกรณ์การแพทย์ การใช้เครื่องซัคชั่นดูดลมในท่อสายยางให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น นำมาต่อกับสายเชื่อมต่อเครื่องซัคชั่นแล้วเริ่มกระบวนการดูดให้แห้ง ตรวจสอบคราบสกปรกตามสายยางต่างๆก่อนส่งนึ่งอบแก็ส

ผลการศึกษา
- ระยะเวลาในการทำให้แห้งใช้เวลาประมาณ 3-5 นาทีต่อ 3 ชิ้น ในขณะที่ถ้าตากให้แห้งเองจะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที ทำให้ประหยัดเวลาและไม่มีคราบน้ำเหลืออยู่ในสายยางเลย ตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์ได้และลดความผิดพลาดในการจัดชุดเครื่องมือและใช้กระแส ไฟฟ้าไม่มาก หลังจากนำมาใช้งานพบว่า อัตราความทันเวลาของการใช้งานของอบแก็สเป็นร้อยละ 100 และอัตราตรวจพบสายยางไม่สะอาดเป็นร้อยละ 0

สรุป
- การประดิษฐ์เครื่องซัคชั่นดูดแห้งขึ้นใช้นี้จะช่วยในการเตรียมอุปกรณ์ที่ ต้องนึ่งอบแก็สได้เร็วขึ้น ลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองและลดการสูญหายอุปกรณ์ขณะตากให้แห้งลงได้ ลดระยะเวลาในการทำงาน ปละประหยัดเงินของโรงพยาบาลเพราะไม่ต้องซื้อของมาเก็บไว้มากเนื่องจาก สามารถหมุนเวียนใช้งานได้ทัน


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

การพัฒนาแบบจำลองระบบสารสนเทศสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

การพัฒนาแบบจำลองระบบสารสนเทศสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

Developing a Health Information Systems Model to Support Decision-making

วัฒนา คงนาวัง (Wattana Khongnawang) ดร. สมจิตร อาจอินทร์ (Dr. Somchit Ard-In)∗∗

นิรุวรรณ อุประชัย (Niruwan Uparachai)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์ระบบโปรแกรม Tambon Health Organization (THO) ศึกษาดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพ ออกแบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบ ประเมินประสิทธิภาพของระบบ ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจากผู้บริหาร และระดับผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านแท่น ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองระบบสารสนเทศสุขภาพ พัฒนาโดยโปรแกรม Microsoft Access 97 สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากโปรแกรม THO วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพ สามารถนำเทคนิค SWOT Analysis วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดัชนีชี้วัด ทำให้ผู้ใช้ระบบทราบถึงผลการดำเนินงานในปัจจุบัน สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางเลือกสำหรับการตัดสินใจวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้

ABSTRACT

This study aimed to develop health information systems, to evaluate efficiencies of health information systems, and to evaluate satisfaction of health information systems users. The study was conducted by analyzing the Tambon Health Organization (THO) program system, examining a health index, designing a database, developing systems, evaluating efficiencies of the systems. The health information system model to support decision-making was developed by the use of Microsoft Access 97. The developed systems were able to link information to the THO Program. They were able to compare data with health index and technique in analyzing factors involving indices which indicated weaknesses and strengths, opportunities, and obstacles ; enabling systems users to know current conditions of operational outcomes. The systems user could implement factors involving cache health index in determination of alternative strategies for decision-making on planning for solving public health problems.

คำสำคัญ : แบบจำลอง ระบบสารสนเทศสุขภาพ Keywords : Model, Health Information System

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Public Health. Mahasarakham University)

∗∗คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Faculty of Science, Khon Kaen University)

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

การสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา ระบบควบคุมงานด้านอาหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

A Construction of a Geographic Information System Model : A Case Study of Food Control Systems under the Office of Trat Provincial Public Health

สุกานดา เอี่ยมศิริถาวร (Sukanda Iamsirithawon) ดร. สมจิตร อาจอินทร์ (Dr.Somchit Ard-In)∗∗ จิรัฎฐา ภูบุญอบ (Jirattha Phubunop)∗∗∗

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยคะแนนมาตรฐาน T-Score จากปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งโรงงานผลิตอาหาร แล้วแบ่งระดับโดยใช้อันตรภาคชั้น เป็น4 ระดับ กำหนดค่าคะแนนให้กับทุกระดับการจำแนก สร้างฐานข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการซ้อนทับข้อมูล จากฐานข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงแผนที่ระดับตำบลที่มีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานผลิตอาหาร ผลการวิจัยพบว่า ตำบลที่มีความเหมาะสมมากที่สุดมีจำนวน 4 ตำบล จาก 4 อำเภอ ซึ่งได้เกรดคะแนนระดับเกรด A เนื่องจากมีค่าคะแนนความเหมาะสมของปัจจัยที่ได้จากการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด โดยสรุปแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร ในจังหวัดตราดต่อไป

ABSTRACT

The purpose of this study was to construct a geographic information system model by using standard T-scores from the factors affecting food production factory establishment. The levels were then divided by using stratification into 4 levels. Scores were determined for all levels of discrimination. Databaser were constructed in the manner relations. Then all tambons were evaluated to see which tambons was most appropriate to establish the food production factory by using the method of analyzing data using data overlaying method from the databases in the manner relations to the geographic information systems by multiplying the scores on discrimination according to the model in the order to show mapping at the tambon level appropriate for establishing food production factories. The results of the study revealed that the 4 most appropriate tambons from 4 Amphoes which received a grade A. These tambons have the highest scores on appropriateness of the factors that received from weighting. In conclusion, the constructed geographic information system model could be used as database for supplementing to decision-making on consideration of issuing licences for establishing food production factories in Changwat Trat in the future.

คำสำคัญ : สารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบควบคุมด้านอาหาร Key words : Geographic Information System, Food Control System

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Public Health, Mahasarakham University) ∗∗ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Faculty of Science, Khon Kaen University) ∗∗∗ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Informatics, Mahasarakham University)

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออก

การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออก

ในจังหวัดกาฬสินธุ์โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

A Study of Environmental Factors and Hemorrhagic Fever Occurrcnce in Changwat

Kalasin by Applying Geographic Information System

อดุลย์ กล้าขยัน (Adul Khlakhayan)*

วิรัตน์ พงษ์ศิริ (Wirat Pongsiri)**

จิรัฏฐา ภูบุญอบ (Jirattha Phubunop)**

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย ข้อมูลด้านผู้ป่วย ได้แก่ อายุ ช่วงฤดูการเจ็บป่วย และชนิดของเชื้อโรค จากจำนวนผู้ป่วยทุกคน ในช่วง พ.. 2544 – 2548 จำนวน 4,436 คน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยไข้เด็งกิว (Dengue Fever) จำนวน 1,903 คน ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) จำนวน 2,603 คน และไข้เลือดออกช็อก (Dengue Shock Syndrome) จำนวน 130 คน และข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก จำนวน 9 ปัจจัย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติเชิงพรรณาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์ คือ (Multinomial Logistic Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคไข้เลือดอก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < lang="TH">ได้แก่ ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝน จำนวนแหล่งน้ำ และอายุของผู้ป่วย โดย ฤดูฝนและฤดูหนาวมีผลต่อการเกิดโรค ถึง 1.7-2.0 เท่า ด้านปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 232.0 - 300.5 มิลลิเมตร มีผลต่อการเกิดโรค 1.6 เท่า ด้านจำนวนแหล่งน้ำน้อยกว่า 89 แห่ง มีผลต่อการเกิดโรค 1.6 เท่า และด้านกลุ่มอายุน้อยกว่า 12 ปี มีโอกาสเกิดโรค 0.7 เท่า ตามลำดับ ความแม่นยำในการพยากรณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก โดยมีปัจจัยสภาพแวดล้อม 4 ด้าน สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 60.7 และเมื่อนำปัจจัยสภาพแวดล้อม มาสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการต่อการเกิดโรค โดยประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ จากทั้งหมด 135 ตำบล พบว่าตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับสูง 1 ตำบล คือ ตำบลเหล่าอ้อย ตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับปานกลาง จำนวน 112 ตำบล และตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับต่ำ จำนวน 22 ตำบล

Keywords : Geographic information system, Hemorrhagic fever

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, โรคไข้เลือดออก

* คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ((Faculty of Public Health, Mahasarakham University))

** คณะวิทยาการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Informatics, Mahasarakham University)


ABSTRACT

The purposes of this study were to examine the influences of environmental factors and hemorrhagic fever occurrences, and to construct an area model at risk of hemorrhagic fever occurrences of Changwat Kalasin. This study applied the geographic information system using secondary data comprising patient data. The data involved ages, seasons of sickness, and kinds of disease; collected from a total of 4,436 patients during 2001-2005. There patients were divided into 1,903 dengue fever patients, 2,603 dengue hemorrhagic fever patients, and 130 dengue shock syndrome patients. The study also used data concerning 9 risk factors of hemorrhagic fever occurrence. A questionnaire was used for collecting data. The descriptive statistics used were percentage, mean, and standard deviation. The analytical statistic used for analysis of the data was multinomial logistic regression analysis.

The results of the study revealed the following. The environmental factors related to hemorrrhagic fever occurrences at the level of significance (p<>

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในโรงพยาบาลชุมชน

การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในโรงพยาบาลชุมชน

จังหวัดนครราชสีมา

Development of Tuberculosis Treatment Data Management System

in Hospital of Nakhonratchasima Province

พงษ์ศักดิ์ เชาว์วันกลาง (Pongsak Chaowanklang)*

วิรัตน์ พงษ์ศิริ (Wirat Phongsiri)**

จิรัฏฐา ภูบุญอบ (Jiratta Phuboon-ob)**

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา

ทดสอบการทำงานของระบบใช้วิธี Black-Box ประเมินระบบใช้การสาธิตประกอบการสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสาธิตประกอบการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค สามารถจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลการรักษา ติดตามผู้ป่วยที่ขาดการรักษา รายงานผลให้เครือข่ายการรักษา และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่มีความถูกต้องแม่นยำ โดยสรุปได้ว่า ระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และสนับสนุนการปฏิบัติงานคลินิกผู้ป่วยวัณโรคได้จริง

ABSTRACT

The purposes of this study were to development of tuberculosis treatment data management system in hospital of Nakhonratchasima province. A Black-Box method was used to test the effectiveness of the tuberculosis treatment data management system. The system was evaluated by using the demonstration and interview. Data collection of the satisfaction of health care personnel was done by using the demonstration and interview. The instruments in this study consisted of the tuberculosis treatment data management system and the satisfaction of health care personnel with the tuberculosis treatment data management system questionnaires. The results of this study showed that the developed tuberculosis treatment data management system was able to collect and search for treatment data, follow mis-appointed case, report the data to medical networks and analyze the treatment correctly. In conclusion, tuberculosis treatment data management system developed by the researcher could responded to user requirement and support the clinical practice at tuberculosis clinic.

คำสำคัญ : ระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค Keyword : tuberculosis treatment data management system

* คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Public Health, Mahasarakham University )

** คณะวิทยาการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Faculty of Informatics, Mahasarakham University)

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

Saturday, February 17, 2007

การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดทำแผนที่การกระจายทันตบุคลากร :

กรณีศึกษา จังหวัดมุกดาหาร

Using a Geographic Information Systems for Mapping the Distribution

of Dental Personnel : A Case Study Mukdahan Province.

ศิริจิต เทียนลัคนานนท์ (Sirijit Teanlakkananon)*

ผศ.ดร.สมจิตร อาจอินทร์ (Dr.Somjit Arch-Int)**

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ (Surasak Tiabrith)***

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน ปัญหาการกระจายทันตบุคลากรในประเทศไทย มีความแตกต่างกันมาก พบว่าเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 7 มีอัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดคือ 1 : 27,773 เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 5 มีอัตราส่วนทันตาภิบาลต่อประชากรมากที่สุดคือ 1 : 24,317 ส่วนจังหวัดมุกดาหารมี ทันตแพทย์ต่อประชากร 1 : 31,551 ทันตาภิบาลต่อประชากร 1 : 18,559 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือทันตแพทย์ต่อประชากร 1 : 12,500 ทันตาภิบาลต่อประชากร 1 : 10,000 เกิดปัญหาการกระจายทันตบุคลากรตามกรอบอัตรากำลังกระทรวงสาธารณสุข ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน สภาพพื้นที่ที่รับผิดชอบ และจำนวนประชากรที่ต้องดูแล

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ประการแรก เพื่อพัฒนาแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยใช้ตัวบ่งชี้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านปัญหาโรคทางทันตสาธารณสุข(D1) ด้านประชากร(D2) และด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุข(D3) นำไปแปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน Z และ T ตามลำดับ จำแนกการกระจายทันตบุคลากรด้วยอันตรภาคชั้นเป็น 4 ระดับ คือ มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย และน้อย ประการสองการทดสอบโดยการทดลองนาจำนวนทันตบุคลากรไปดำเนินการดังแบบจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ได้คะแนนมาตรฐาน T ที่มีค่าคะแนนใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมต่อทันตบุคลากร 1 คน และประการที่สามเพื่อ เปรียบเทียบการกระจายทันตบุคลากรตามกรอบอัตรากำลังของกระทรวงสาธารณสุขและการกระจายทันตบุคลากรด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้วยการหาค่านัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิจัย พบว่า แบบจำลองกำหนดเกณฑ์ ดังนี้ D1 x D2 x D3 ส่วนการทดสอบพบว่าค่าเฉลี่ยด้านปัญหาโรคทางทันตสาธารณสุขที่เหมาะสมต่อทันตบุคลากร 1 คน คือ 2,065 คน ด้านประชากรประกอบด้วยจำนวนศูนย์พัฒนาเด็ก คือ 9 แห่ง จำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก คือ 261 คน จำนวนเด็กอนุบาล คือ 288 คน จำนวนนักเรียน คือ 1,494 คน จำนวนประชากร คือ 8,444 คน จำนวนหมู่บ้านคือ 20 หมู่บ้าน และด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขประกอบด้วย ระยะทาง คือ 71.14 กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทาง คือ 54.21 นาที และการเปรียบเทียบการกระจายทันตบุคลากรตามกรอบอัตรากำลังของกระทรวงสาธารณสุขกับการกระจายทันตบุคลากรด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทันตบุคลากร Key words : Geographic Information Systems Dental Personnel

* มหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

*** อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


พบว่า การกระจายทันตแพทย์ ตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข เรียงลำดับ 1-7 ดังนี้ อำเภอเมือง คำชะอี ดอนตาล ดงหลวง นิคมคำสร้อย หว้านใหญ่ และหนองสูง ซึ่งแตกต่างจากแบบจำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการเปรียบเทียบการกระจายทันตาภิบาลตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข เรียงลำดับ 1-7 ดังนี้ อำเภอเมือง ดงหลวง ดอนตาล คำชะอี นิคมคำสร้อย หว้านใหญ่ และ หนองสูง ซึ่งเมื่อเทียบการกระจายทันตาภิบาลตามแบบจำลอง พบว่าแตกต่างที่ อำเภอคำชะอี ดอนตาล หนองสูง และหว้านใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

โดยสรุป การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการสร้างแบบจำลองการกระจายทันตบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้บริหารนำผลการวิเคราะห์ไปประกอบในการพิจารณาจัดสรรทันตบุคลากร เพื่อกระจายทันตบุคลากรให้ตรงความต้องการในพื้นที่ในจังหวัดมุกดาหารได้ทันที สามารถประมวลผลได้สะดวก รวดเร็ว เห็นภาพแผนที่ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ครอบคลุมสภาพพื้นที่ที่เป็นจริง สามารถแก้ไขปัญหาสัดส่วนทันตบุคลากรกับประชากรให้เหมาะสมกัน มีจำนวนทันตบุคลากรเพียงพอต่อความต้องการรับการรักษาทางทันตกรรมที่เพิ่มขึ้น มีการกระจายทันตบุคลากรในพื้นที่ชนบทและห่างไกลเพิ่มขึ้น

ABSTRACT

The problems of dental personnel distribution in Thailand currently show great differences. It has been found that in Region 7 of the Ministry of Public Health Supervision the ratio of dentists to population is the greatest 1:27,773, in Region 5 the ratio of dental nurses to population is the greatest 1: 24,317. However, in Mukdahan Province the ratio of dentists to population is 1:31,551, and the ratio of dental nurses to population is 1:18,559. These ratios exceed the established requirements of dentists to population ratio of 1 : 12,500 and dental nurses to population ratio of 1 : 10,000. Therefore, problems of dental personnel distribution based on the manpower framework of the Ministry of Public Health occur, and the ratios are not in accordance with work loads, responsible area conditions, and the population to be cared.

The first purpose of this study was to develop a constructed model consisting of 3 indicators : dental disease problems(D1), population(D2), and public health service access(D3). The model was used to find out the values of data representatives by means of median calculation. The needs for dentists and dental nurses were then evaluated by using standard T-scores to find ranks of their needs from adding up standard T-scores on these 3 indicators. And then levels of needs were divided by using stratified interval into 4 levels : high, rather high, low, and very low. A score was determined to each level of classification. The second purpose in testing on the experiment, the numbers of dental personnel were treated as in the constructed model to obtain standard T- scores with close or equal scores which were appropriate for each of dental personnel. And the third purpose of the study was to compare dental personnel distributions based on the manpower framework of the Ministry of Public Health through the geographic information systems by finding out the statistically significant values.

The results of the study were as follows. The model was D1 x D2 x D3. In testing the ratio of dental personnel to the number of dental disease problems were 2,065 people. The population : the number of child health care were 9 place, the number of childen in child health care were 261 people, the number of childhood were 288 people, the number of student were 1,494 people, the number of population were 8,444 people and the number of


village were 20 village. The public health service access : the number of the way were 71.14 kilometer and The number of time were 54.21 minute. For the dentist distribution based on the framework of the Ministry of Public Health, the first 7 top ranks of needs were: Amphoe Mueang, Khacha-I, Don Tan, Dong Luang, Nikhom Kham Soi, Wan Yai and Nong Sung. This was different from the dentist distribution based on the model at the 0.01 level of significance. For the ranks of dental nurse distribution based on the framewrok of the Ministry of Public Health , the first 7 top ranks of needs were : Amphoe Mueang, Dong Luang, Don Tan, Khamcha-I, Nikhom Kham Soi, Wan Yai and Nong Sung, but Amphoe Khamcha-I, Don Tan, Nong Sung, and Wan Yai showed the different needs mentioned at the 0.01 level of significance.


In conclusion, the use of geographic information systems for constructing dental personnel distribution model efficiently could help administrators implement the analysis results in supplementing to consideration on allocation of dental personnel for dental personnel distribution to meet the needs of each area in Province Mukdahan immediately. The results could be complied conveniently and rapidly. The mapping could be seen clearly, easy to understand, and could cover all the actual area conditions. The problems of ratios of dental personnel to population could be solved for appropriateness with adequate dental personnel for the needs for more dental treatments; and more dental personnel distributions could be made in rural and remote areas.

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

Thursday, February 15, 2007

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของ สถานบริการสาธารณสุข : กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของ สถานบริการสาธารณสุข : กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

Geographic Information System Application to Development Model Distribution of

Public Health Service Center : A Case Study in Kalasin Province

อาษา อาษาไชย (Asa Asachai)*

สมจิตร อาจอินทร์ (Dr. Somchit Arch-Int)**

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ (Surasak Tiabrith)***

บทคัดย่อ

ระบบการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังจัดระบบบริการสาธารณสุขไม่ครอบคลุมประชาชนในพื้นที่ การวางแผนจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขที่ผ่านมายึดเกณฑ์ตามจำนวนประชากร ข้อมูลสาธารณสุขไม่ได้แสดงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่อย่างชัดเจน ทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่เกิดประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายสถานบริการสาธารณสุขโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ดัชนีความสะดวกในการเข้าถึงเมือง,ความหนาแน่นประชากร,อัตราส่วนการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข อัตราการมีหลักประกันสุขภาพ และอัตราการผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน นำข้อมูล 135 ตำบล แปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน Z และ T แล้ววิเคราะห์สมการถดถอยโดยวิธี Stepwise คำนวณหาความเหมาะสมของจำนวนสถานบริการ

สาธารณสุข ได้สมการทำนายแนวโน้มการกระจายของสถานบริการสาธารณสุขดังนี้

จำนวนสถานบริการสาธารณสุข = 45.873 + 0.213 (อัตราการมีหลักประกันสุขภาพ)

จากการทำนายพบว่า มีจำนวน 97 ตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขเพิ่ม โดยสรุปการพัฒนาแบบจำลองการกระจายสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรมีการศึกษาข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำไปปรับนโยบายและทิศทางการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมพื้นที่และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

ABSTRACT

The medical and public health service system in Kalasin Province area has not yet systemized the health care service that can cover all the people in the area. The public health resource allotment planning in the past held the criteria based on the population. The public health information did not demonstrate clear spatial relationships. As a result, the resources allotments were inefficient. This study implemented different factors in developing a model of distributing health care service centers by applying the geographic information system. The model of distributing health care service centers was developed by analyzing convenience indices of accessing towns, population density,

คำสำคัญ : สถานบริการสาธารณสุข สารสนเทศภูมิศาสตร์ Keywords : Public Health Service Center, geographic information system

* มหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น *** อาจารย์คณะสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


public health resource distribution ratios, health assurance rates, and rates of passing the minimum health requirements. Data involving all the 135 tambon were transformed into standard Z-scores and standard T-scores respectively. The obtained values were analyzed by means of stepwise regression equation analysis. The obtained analysis results were then calculated for appropriateness of the numbers of health care service centers in kalasin area. A predictive equation of the trend of distributing health care service centers was as below.

The number of health care service centers = 45.873 + 0.213 (rate of health assurance)

It was found that there were 97 tambon in Changwat Kalasin in which additional health care service centers should be established. In conclusion, for development of the model of distributing health care service centers in Kalasin province, the data concerned in each period of time should be examined in order to use such data for adjusting the policy and direction of developing the health care service centers to cover all the area and to respond to the people’s actual needs.

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

Sunday, February 11, 2007

ภาพล่าสุดพี่หน่อย จารุวรรณ กับการเร่งทำ thesis ที่ มมส

กว่าจะหาเวลาว่างมาทำงาน thesis ได้ แทบแย่เหมือนกันนะครับ


เรื่องการเก็บข้อมูล แบบสอบถาม เสร็จแล้วครับ ทุกท่านหายห่วงได้


มานั่งทำงานที่ห้องสมุด มมส. ซึ่งไม่ได้เข้ามาที่นี่นานหลายสัปดาห์แล้วนะครับ

ทำงานหนักกว่าเดิม จนผอมลง อยากรู้ว่า หนักขนาดไหน ต้องโทรไปคุยกับพี่หน่อยพร้อมให้กำลังใจด้วยเลยนะครับ 081 -544 3225


มาทานข้าวเที่ยงตอนบ่าย 2 โมงครึ่งที่ร้านไผ่สีทอง

เดี๋ยวนี้ร้านไผ่สีทองปรับปรุงใหม่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพอสมควร


อาหารมื้อเที่ยงที่นั่งทานกัน 2 คนครับ จะมีใครมานั่งทานข้าวด้วยกันอีกมั้ย

ร้านไผ่สีทอง ปรับปรุงใหม่ เทพื้นให้สูงขึ้น

อ.เทอดศักดิ์ ถามหา พี่พิจิตร พี่สันติ


ไปทานข้าวกับพี่หน่อยที่ ร้านไผ่สีทอง พบกับท่าน อ.เทอดศักดิ์อีกครั้งหนึ่ง
พบหน้า ท่านก็สอบถามถึงพี่พิจิตร และพี่สันติ ที่หายไปเลย ไม่ยอมมาติดต่อกับทางคณะฯ

ทั้งๆที่ทำแค่ IS เตรียมข้อมูล เอกสารมาขอสอบได้เลย เพราะเมื่อมาสอบแล้ว จะได้ประเด็็นที่ชัดเจนว่าจะต้องแก้ไขจุดใด ก็มาลงมือดำเนินการ แล้วจะจบได้ไม่ยากเย็น

เพราะทำแค่ IS เท่านั้น ไม่ต้องเครียดมากเหมือน thesis

อ.เทอดศักดิ์ ฝากความคิดถึงไปถึง พี่พิจิตรและพี่สันติแล้ว ก็ได้แต่รอคอยคอยต่อไป

Saturday, February 10, 2007

พี่ตุ๋ย กรรณิกา เตรียมตัวมาสอบเวชปฏิบัติที่ ว.พยาบาลศรีมหาสารคาม 3 มี.ค.นี้

พี่ตุ๋ย จาก ท่าอุเทน เตรียมเดินทางมาสอบเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรเวชปฏิบัติ หลักสูตรระยะสั้น ที่มหาสารคามในวันที่ 3 มี.ค. นี้ ในเวลา 9-12 น. โดยจะออกเดินทางพร้อมกับน้องๆพยาบาลจากท่าอุเทนตอนตี 4 เช่นเดิม

ซึ่งพี่ตุ๋ย อยากจะหาความรู้ให้เต็มที่ เพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงที่ผ่านมา พี่ตุ๋ยออกไปทำงาน PCU ของ รพ.ท่าอุเทน และเดือน เม.ย.นี้จะย้ายกลับเข้ามาอยู่ฝ่ายการฯ รพ.ท่าอุเทนแล้วครับ ที่ผ่านมา ไม่ค่อยได้เจอพี่ฝนเลย ขนาดอยู่ รพ.เดียวกันแท้ๆ

พี่ตุ๋ยฝากถามมาว่า จะรวมรุ่นกันเมื่อไหร่ หลายคนก็ถาม อยากให้นัด แต่ก็ไม่มีใครนัดเสียที

วันที่ 3 มี.ค.นี้ พี่ตุ๋ยสอบเสร็จเที่ยง และมามหาสารคามแน่นอน นายบอนเตรียมโผล่ไปร่วมทานข้าวเที่ยว รายละเอียดโปรดติดตามต่อไป..

Tuesday, February 06, 2007

ภาพรูปที่สั่งจอง จากงานรับปริญญา มมส. ส่งถึงบ้านแล้ว

ถือว่า ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนะครับ สำหรับผู้ที่รับปริญญาในปี 2549
ภาพที่สั่งจองไว้ ถูกส่งใส่ซองมาถึงบ้าน ดังภาพแล้วครับ



พี่พิจิตร เตรียมโอนหน่วยกิตไปที่ ราชภัฏ ม.อุบลราชธานี

หลังจากหายไปนาน จนคาดว่า คงไม่มีโอกาสได้มาสานต่อเรื่องเรียนที่เหลือเพียงทำ IS ให้เสร็จ
เพราะอยู่ไกล มา มมส.ยาก

พี่พิจิตรกับพี่สันติ จึงเล็งจะทำเรื่องโอนหน่วยกิตที่เรียนแล้วไปที่ ม.ราชภัฏอุบล

เพราะไปดูรายละเอียด วิชาต่างๆ สามารถโอนมาเทียบกันได้ มีวิชาที่เหมือนกันอยู่ 5 วิชา
ถ้ามาเรียนต่อที่ ม.อุบล น่าจะมีโอกาสเรียนจบมากกว่า

ความคืบหน้าจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามต่อไป

Monday, February 05, 2007

พี่ตุ๋ย - กรรณิกา และพี่ฝน ปัทมาวดี จากท่าอุเทน ส่งของขวัญมาร่วมยินดีย้อนหลัง

พี่ตุ๋ยกับพี่ฝน ส่งพัสดุ ของขวัญแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสเรียนจบรับปริญญา ให้นายบอนดังภาพ
ซึ่งมีทั้งกรอบรูปและเสื้อสีเหลือง
พร้อมการ์ดอวยพร + ข้อความประทับใจ

ขอบพระคุณมากๆครับ



Saturday, February 03, 2007

หนูเล็ก ไปหาข้อมูลในนิทรรศการแนะแนวศึกษาต่อ ป.โท- ป.เอก ม.ขอนแก่น

3 ก.พ.2550 มีนิทรรศการแนะแนวศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ของ ม.ข. ซึ่งเดินทางมาจัดกิจกรรมที่ ศูนย์การค้า SK ชอปปิ้งพลาซ่า ตรงข้าม ม.ราชภัฏอุบลราชธานี




หนูเล็กได้แวะไปเข้าฟังและหาข้อมูลในงานนี้ด้วย หลังจากดูรายละเอียดแล้ว มีหลักสูตรปริญญาเอก หลักสูตรหนึ่งที่เปิดรับในคราวนี้ คือ ป.เอก สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งได้หนูเล็กได้สอบถามเรื่องการเข้าเรียน การขอทุน ซึ่งได้รับคำแนะนำว่า ต้องไปคุยกับอาจารย์ในสาขานั้นก่อนว่า จะรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือไม่ แล้วจึงดำเนินการสมัครสอบ เตรียมโครงร่างวิจัย -แผนการทำวิทยานิพนธ์ ส่วนแหล่งทุนมีหลายแหล่ง

หนูเล็กไม่มีข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดินมากนัก

เรื่องเวลาเรียน หนูเล็กไม่สามารถมาเรียนได้ นอกจากจะย้ายไปอยู่ สคร. ซึ่งสามารถลามาเรียนได้