Friday, December 15, 2006

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย spinal injury c cord compression ที่มี paralysis



สุจดี ตั้งใจ, อรสา ชัยจันดี, อรอุมา ทุนสะท้าน
พยาบาลวิชาชีพงานศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลชัยภูมิ

บทนำ

- พบว่าผู้ป่วย ผู้ป่วย spinal injury c cord compression ที่มารักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกปี 2548 จำนวน 4 ราย เกิดแผลกดทับเมื่อกลับบ้าน 2 ราย เกิด UTI ที่บ้าน 2 ราย Readmit 6 ครั้ง ทำให้สูญเสียงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ทางหอผู้ป่วยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วย spinal injury c cord compression ที่มี paralysis เป็นการเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยและญาติให้มีการดูแลร่วมกัน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองได้ตามความเหมาะสม

วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองได้โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ลดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน ลดจำนวนวันนอนในการรักษาพยาบาลในครั้งนั้น ลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาล และเพื่อความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ

วิธีการศึกษา
- ให้การพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง ประชุมปรึกษาหารือระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพในการวางแผนร่วมกันดูแลผู้ป่วย จัดทำ
CPG และ CNPG จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยสำหรับผู้ดูแลที่บ้าน อบรมทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยตามแผนการดูแล ทดลองใช้ร่างรูปแบบแผนการดูแลที่จัดทำขึ้นวิเคราะห์ ความแปรปรวนในการทดลองใช้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ทีมสุขภาพและปรับแผนการดูแลและนำแผนการดูแลผู้ป่วยมาใช้อย่างต่อเนื่อง ติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ผลการศึกษา
- ผู้ป่วยและญาติได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเอง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 100
% ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ขณะอยู่โรงพยาบาลและที่บ้าน 100% มีวันนอนในการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมตาม CPG และ CNPG ลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจากเดิมกรณีเดียวกัน 204,377 บาท เป็น 81,117 บาท ลดภาระของครอบครัวและสังคมในการดูแล มีการประสานเชื่อมโยงระหว่างทีมสุขภาพในพื้นที่ ทำให้ผู้มีขวัญและกำลัง ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้งหรือเป็นภาระของสังคม มีความพึงพอใจในด้านบริการจากทีมสุขภาพ 100%

วิจารณ์และสรุป
- หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก รพ.ชัยภูมิ ในฐานะที่เป็นสถานบริการทุติยภูมิ ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการแบบองค์รวมในผู้ป่วย ศัลยกรรมกระดูกครอบคลุมพื้นที่ 14 อำเภอ การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วย
spinal injury c cord compression ที่มี paralysis โดยร่วมกันกำหนดแนวทางที่ถูกต้อง พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างพันธมิตร / เครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้ง รพช. ศสช จะทำให้ระบบการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากผลงานวิชาการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549

วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรมแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

งานวิจัย สาธารณสุข

No comments: